15/03/2023

เกาะกระแสเทรนด์ Sustainability งาน Sublimation ก็ Eco Friendly ได้

จั่วหัวกันมาแบบนี้ อาจจะฟังดูยกยอปอปั้นงานซับลิเมชั่นเกินไปหน่อย แต่ที่เราจะนำมาแชร์กันผ่านเนื้อหาวันนี้มันคือข้อเท็จจริง โดยเฉพาะหากคุณต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจของคุณแบบ Eco Friendly ตามเทรนด์ Sustainability ที่ตอนนี้นั้นไม่ใช่แค่เทรนด์ และอาจจะกลายเป็นก้าวแรกของหลาย ๆ องค์กรที่ต้องการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน

นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ เพราะสิ่งแวดล้อมและชีวิตสำคัญไม่แพ้ผลกำไรทางธุรกิจ สตาร์ทถูกวิธีก็จะมีแต่อะไรดี ๆ เกิดขึ้นแน่นอน!

Eco Friendly
Image by rawpixel.com on Freepik

Eco Friendly ได้จริงหรือ ? Sublimation x Sustainability

ที่ผ่านมา กรรมวิธีการย้อมสีแบบเก่าที่นิยมกันมาเนิ่นนาน การผลิตสิ่งทอด้วยกระบวนการที่ว่านี้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากอย่างไม่น่าเชื่อ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวการหลักเลยก็ยังได้! เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำในอุตสาหกรรมทั่วโลกถึง 17-20% รวมถึงขยะมูลฝอยจำนวนมากที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องย้อมผ้าเริ่มตกรุ่น แต่แม้เมื่อไม่กี่ปีมานี้จะมีการผลักดันให้อุตสาหกรรมสิ่งทอสะอาดขึ้นในบางกระบวนการ แต่ก็ยังมีอยู่มากที่ยังคงใช้วิธีแบบเดิม ซึ่งสวนกันกับแนวทางเทรนด์ Sustainability ในปัจจุบัน และดูไม่ Eco Friendly เท่าไหร่นัก..

แต่อย่างที่ทราบกันดี หากใครที่อยู่ในวงการนี้มาสักพักจะเห็นว่าเทคนิคซับลิเมชั่นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการสกรีน การย้อมสี แบบเก่า โดยการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น หรือ Sublimation Printing นั้นไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้น้ำและไม่ใช่การย้อมหมึก แต่สามารถให้สีที่สดใสและมีความทนทานในทุกการออกแบบ ส่วนแนวทางที่จะนำพาเรามุ่งสู่เทรนด์ดังกล่าวด้วยสิ่งนี้ เรามีแนวทางของ Purnaa ซึ่งได้ประเมินผลกระทบของการพิมพ์แบบซับลิเมชั่นที่มีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแบ่งปันแนวทางที่พวกเขาได้สร้างระบบการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ก้าวแรกของการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน

Eco Friendly
Image by Freepik

Sublimation Printing สู่กระบวนการพิมพ์รักษ์โลกแบบครบวงจร ?

หากพูดถึงการสกรีน การย้อมสี แบบดั้งเดิม “น้ำ” เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการย้อมสีสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนสีย้อมเข้าสู่สิ่งทอ ใช้น้ำปริมาณกว่า 200 ตัน ต่อการย้อมผ้าเพียง 1 ตัน นี่นับว่าเป็นปริมาณมาก แถมเรื่องการควบคุมน้ำที่ไม่ดีของเทศบาล อาจทำให้น้ำเหล่านี้กลับสู่ระบบนิเวศเดิมด้วยสารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งอาจรวมถึงสารเคมีก่อมะเร็ง สีย้อม เกือล และโลหะหนัก สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างมลภาวะต่อแหล่งน้ำดื่มที่จำเป็นอีกต่างหาก

กลับกัน กระบวนการของ Sublimation Printing ไม่ได้ใช้น้ำเป็นหลักในการปรินท์ เปลี่ยนเป็นใช้ความร้อนแทน ด้วยเทคนิคการพิมพ์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “การระเหิด” หมึกไปสู่กระดาษซับลิเมชั่น แม้จะยังมีหลายสิ่งอย่างที่ต้องปรับปรุง แต่คุณสามารถเลือกใช้แนวทางต่อไปนี้ยกระดับให้เครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่นคุณควบคู่ไปกับการรักษ์โลกได้

Eco Friendly
Image by Freepik

แนวทางปฏิบัติสำหรับงานซับลิเมชั่นสู่เทรนด์ Sustainability

  1. สอบถามซัพพลายเออร์เกี่ยวกับเรื่องของหมึกซับลิเมชั่น เช็คว่ามีสารประกอบของบรรดาสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs : สารเคมีที่ก่อให้เกิดมลพิษทำลายโอโซน) หรือไม่ หากผู้ผลิตหมึกของคุณให้การรับรองของผลิตภัณฑ์ได้ ก็พร้อมดำเนินการได้เลย
  2. หลีกเลี่ยงหมึกพิมพ์ที่มีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม หรือปรอท หากมีซัพพลายเออร์ที่เป็นสมาชิกของ The Ecological and Toxicological Association of Dyes and Organic Pigments Manufacturers (ETAD) มีใบรับรอง มั่นใจได้ว่าปลอดสารที่กล่าวไปข้างต้นชัวร์
  3. พิจารณาเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ ซึ่งการพิมพ์แบบระเหิดส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ผ้าโพลีเอสเตอร์ เนื่องจากหมึกซับลิเมชั่นต้องจับตัวกันทางเคมีกับโพลีเมอร์ ซึ่งไม่มีอยู่ในเส้นใยธรรมชาติ และสิ่งนี้นั้นก่อให้เกิดไมโครพลาสติกในน้ำได้ ใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย หากคุณสามารถดีลกับซัพพลายเออร์ให้ใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิลได้จะช่วยอย่างมาก พร้อมทั้งมีวิธีตรวจสอบลูกค้าของคุณว่ามีวิธีรีไซเคิลผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเมื่อหมดอายุการใช้งาน

ทั้ง 3 แนวทางที่ได้กล่าวมา ข้อสุดท้ายนี้อาจจะยากและจำกัดกระบวนการทางธุรกิจพอสมควร หากทำได้จะส่งผลที่ดีมากต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะเป็นการเริ่มต้นสู่ความยั่งยืนขององค์กรคุณ นี่ยังช่วยให้บรรดาซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องนั้นเดินไปในทิศทางเดียวกัน ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี ควรค่าต่อการเริ่มต้นอย่างมากเลยทีเดียว

Cover Image : Image by Freepik

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.purnaa.com/post/sustainability-in-sublimation-printing

https://www.auspirit.com/is-dye-sublimation-sustainable/

สาระทั่วไป
16/12/2022

เสื้อผ้ากีฬา x รักษ์โลก “ซับลิเมชั่น” พร้อมเป็นทางเลือก?

ในวงการซับลิเมชั่น หากใครที่คลุกคลีกันมาสักพักหรือทำธุรกิจมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของ “ซับลิเมชั่น” น่าจะเคยได้ยินมาบ้างว่าการพิมพ์แบบซับลิเมชั่นทำงานได้ดีกับเส้นใยสังเคราะห์อย่างโพลีเอสเตอร์เท่านั้น แต่ตัวของโพลีเอสเตอร์เองไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร (แม้แต่วัสดุที่ทำจากขวดน้ำรีไซเคิลก็ตาม) และหาก เสื้อผ้ากีฬา ที่ทำจากเส้นใยเหล่านี้ไม่ถูกฝังกลบ สุดท้ายก็มันก็จะไปจบลงที่รูปแบบไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ส่งเสริมการ “รักษ์โลก” เท่าไหร่นัก และทุกวันนี้ sustain product ก็กำลังเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังมุ่งมั่นปลุกกระแสให้ชาวโลกตื่นตัวกันมากขึ้นในทุกวันนี้

ยิ่งเป็นแบรนด์ “ยักษ์ใหญ่” ยิ่งต้องใส่ใจเรื่อง “รักษ์โลก”

แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง อาดิดาส พวกเขาดินหน้าลุยแคมเปญ “รักษ์โลก” มาหลายปีแล้ว โดยมีการร่วมมือกับ พาร์ลีย์ ฟอร์ ดิ โอเชียนส์ (Parley for the Oceans) ซึ่งไม่ใช่แค่ไลน์ผลิตเสื้อฟุตบอลเท่านั้น เพราะไลน์แฟชั่นอย่าง อาดิดาส ออริจินอลส์ ก็ยังเดินหน้าสานต่อแคมเปญนี้อย่างต่อเนื่อง เพิ่งจะเปิดตัวเสือผ้าภายใต้แคมเปญ ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเทคนิคที่น่าสนใจนั้นอยู่ที่ “เสื้อบอล” เสียมากกว่า

เสื้อผ้ากีฬา
Image by gameplan-a.com

ตัวอย่างแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ ” เสื้อผ้ากีฬา รักษ์โลก”

เสื้อบอลที่เป็นแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ ชุดแข่งของสองยักษ์ใหญ่แห่งวงการลูกหนังอย่าง เรอัล มาดริด และ บาเยิร์น มิวนิค ทั้งสองทีมนั้นถูกออกแบบด้วยสีประจำสโมสรล้วนทั้งชุด ส่วนตัวโลโก้สโมสรนั้นทำจากพลาสติกจากมหาสมุทร และลายพิมพ์อันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยด้วยเทคนิคเฉพาะตัวของแบรนด์ โดยทั้งชุดนี้นั้นเป็นสร้างขึ้นจากมลพิษพลาสติกที่อยู่ในทะเล ก่อนถูกนำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแบบ “พาร์ลีย์”

เสื้อผ้ากีฬา
Image by diarioavance.com

นอกจากจะใช้วัสดุที่รักโลกแบบสุด ๆ แคมเปญนี้ยังสะท้อนเรื่องราวและคงความเป็นเอกลักษณ์ของเสื้อแข่งฟุตบอลเอาไว้ ผสมผสานกับกลิ่นอายความมุ่งมั่นของ พาร์ลีย์ ที่มีต่อมหาสมุทร แม้ว่าตัวโลโก้สโมสรของ เรอัล มาดริด และ บาเยิร์น มิวนิค จะเห็นแค่เพียงลาง ๆ แต่ความตั้งใจนี้ก็เป็นข้อตกลงที่ทาง อาดิดาส กับ พาร์ลีย์ อยากจะให้ชุดแข่งจากแคมเปญนี้มีความยั่งยืน ใช้ได้นานที่สุด และไม่กลับมาเป็นมลพิษของโลกแบบง่าย ๆ นั่นเอง

แล้วงานเทคนิคซับลิเมชั่นบน เสื้อผ้ากีฬา “รักษ์โลก” แค่ไหน?

แวะไปพูดถึงเรื่องอื่นเสียยืดยาว แต่ประเด็นสำคัญที่เราจะพูดถึงก็ยังเป็นเรื่องของ “ซับลิเมชั่น” ซึ่งจริง ๆ แล้วเชื่อว่าแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ นั้นอาจจะใช้เทคนิคขั้นพื้นฐานในการสกรีนลายเสื้อผ้ากีฬา ด้วยเทคนี้นั่นแหละ แต่การเป็นแบรนด์ใหญ่ก็มักจะใช้ชื่อเทคนิคเฉพาะเพื่อสร้างแบรนดิ้งให้เป็นเทคโนโลยีของบริษัท เพราะเอาเข้าจริงการใช้กระบวนการซับลิเมชั่นก็ทำให้คุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าการสกรีนแบบดั้งเดิมมากกมายแล้ว ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น คุณจะใช้น้ำหมึกเพียง 5 มิลลิลิตร เท่านั้น ต่ออัตราส่วนสำหรับการย้อมเสื้อผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 1 กิโลกรัม ซึ่งต่างจากการย้อมแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้น้ำหมึกมากถึง 200 ลิตร สำหรับเสื้อผ้าในปริมาณที่เท่ากัน!

นอกจากเรื่องของตัวหมึกเองแล้ว ตลอดกระบวนการคุณยังไม่จำเป็นต้องใช้สารอันตรายใด ๆ ลงบนผ้าเหมือนกับการย้อมแบบเก่า แถมการใช้เทคนิคซับลิเมชั่นยังแทรกซึมเส้นใยในระดับเซลล์ ไม่ถูกชะล้างออกไปง่าย ให้ผลดีกว่าการย้อมแบบเดิม ๆ อย่างมาก

เริ่มธุรกิจและรักษ์โลกไปพร้อมกันได้ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น

ในส่วนของกระบวนการสกรีนเสื้อด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น รวมถึงการทำลวดลายด้วยเทคนิคนี้บนวัสดุแบบอื่นเพื่อเป็นสินค้าต่าง ๆ เรามีบทความแนะนำมากมายให้เลือกอ่าน และหากคุณกำลังมีแผนที่จะทำธุรกิจ อย่าง “เสื้อผ้ากีฬา” ที่ตอนนี้ต้องบอกเลยว่าการใช้เทคนิคพิมพ์ลายแบบซับลิเมชั่นกำลังมาแรงแบบสุด ๆ เป็น “ตัวตึง” แห่งวงการทำเสื้อผ้ากีฬาเลยก็ว่าได้ แถมนอกจากจะทำง่ายและสะดวกกว่าการสกรีนเฟลกซ์แบบดั้งเดิมแล้วยังรักษ์โลกอีกต่างหาก ลองศึกษากระบวนการซับลิเมชั่นดู บางทีอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับโลกปัจจุบันนี้!

Cover Image : https://www.soccerbible.com/performance/football-apparel/2016/11/adidas-launch-parley-for-the-oceans-collection

Credits: Hanrun paper และ Designboom

สาระทั่วไป