27/02/2023

Dye-Sub เทรนด์ปี 2023 ยกระดับธุรกิจด้วย Industry 4.0

มากันที่ข่าวสารอัพเดตล่าสุดเกี่ยวกับอุตสาหกรรม Dye-Sub หรืองานพิมพ์ซับลิเมชั่นที่เราคลุกคลีกันบ้าง โดยเนื้อหาที่นำมาแบ่งปันกันวันนี้เป็นการวิจัยพิเศษจาก The Future of Dye-Sublimation Printing เป็นคาดการณ์ที่เคยตีพิมพ์เมื่อปี 2019 ก่อนจะถูกเผยแพร่ซ้ำในปี 2023 นี้ คีย์สำคัญคือการติดตามว่าตลาดนี้ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 6.99 พันล้านยูโร (ประมาณสองแสนล้านบาท) ขยับเป็น 7.63 พันล้านยูโร (ประมาณสามแสนล้านบาท) ภายในระยะเวลาแค่ปี 2017-2018 ได้อย่างไร ซึ่งจากข้อมูลที่มีตีความคร่าว ๆ ได้ว่าตลาดนี้นั้นมีความแข็งแกร่งและเติบโตได้ไวมาก

อัตราการขยายตัวความต้องการสำหรับอุตสาหกรรมซับลิเมชั่นทั่วโลกนั้นลดลงในช่วงครึ่งทศวรรษแรก ซึ่งก็เป็นช่วงปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้มีการเติบโตช้า การปรับตัวเพื่อให้พร้อมสำหรับยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงเป็นเรื่องสำคัญ และต่อไปนี้เป็นแนวโน้มสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจคุณ

การพิมพ์เพื่อผลิตภาพที่สูงขึ้น

ในรายงานกล่าวว่าผู้จำหน่ายอุปกรณ์ Dye-Sub อดีตนั้นได้ลูกค้าใหม่ด้วยการขายเครื่องพิมพ์ระดับเริ่มต้น จากนั้นจะเป็นเส้นทางสู่การอัพเกรดอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องจักรระดับสูงผ่านโซลูชั่นสำหรับตลาดระดับกลาง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโมดูล เพิ่มหัวพิมพ์ หรืออาจหมายถึงการซื้อเครื่องใหม่ในแต่ละขั้นตอน

Dye-Sub
Image by usertrmk on Freepik

ความต้องการของโซลูชั่นต้นทุนต่ำและปริมาณที่มากขึ้นกำลังผลักดันการพิมพ์แบบรอบเดียว ซึ่งเป็นกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่โดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับเครื่องพิมพ์ระดับไฮเอนด์ที่มีหัวพิมพ์จำนวนมากขึ้น

การสำรวจเครื่องจักใหม่ที่เปิดตัวสู่ตลาดขององค์กรวิจัย Smithers ในปี 2016-2017 ระบุว่ามีการเปิดตัวเครื่องจักรมากขึ้นในราคาระดับบนของตลาดการผลิตระดับกลาง สิ่งสำคัญคือเครื่องเหล่านี้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถชะลอความจำเป็นในการลงทุนครั้งใหญ่สำหรับผู้ให้บริการ แต่สามารถให้ผลผลิตเต็มรูปแบบได้ในขณะเดียวกัน เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้

ผลักดันระบบอัตโนมัติให้ดียิ่งขึ้น

ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมไหน การเข้าถึงระบบอัตโนมัติเป็นเรื่องจำเป็นต่อการยกระดับสู่ Industry 4.0 ที่มีปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลเป็นแกนนำ ซึ่งในทางปฏิบัติ การพิมพ์ดิจิทัลช่วยให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้นสำหรับการทำงานระยะสั้นถึงระยะกลาง เมื่อเทียบการพิมพ์แบบเดิม โดยลดเวลาในการเตรียมงานลง

Dye-Sub
Image by usertrmk on Freepik

นอกเหนือจากนี้ การเพิมผลิตภาพเพิ่มเติมในงาน Dye-Sub นั้นใกล้เข้ามาและระบบอัตโนมัติสามารถยกระดับสิ่งเหล่านี้ได้ :

  • การบรรจุ หมึกซับลิเมชั่น กระดาษซับลิเมชั่น กระดาษทรานเฟอร์ และ กระดาษรองรีด
  • การทำความสะอาดหัวพิมพ์และการจัดตำแหน่ง
  • การจัดการกระดาษ
  • ซอฟต์แวร์สำหรับการสั่งพิมพ์ผ่านเว็บและการจัดการสื่อสิ่งพิมพ์

วิวัฒนาการของแฟชั่นและการค้าปลีกออนไลน์

ความแพร่หลายของโลกอินเทอร์เน็ตในฐานะช่องทางการขายที่สร้างอิมแพคอย่างมากต่อระบบซัพพลายเชนสำหรับผ้าพิมพ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้อง เทรนด์สำคัญอย่างหนึ่งของ ZARA แบรนด์ใหญ่ที่เป็นผู้บุกเบิก “Fast Fashion” การเปลี่ยนของแฟชั่นที่รวดเร็ว และการเปิดตัวคอลเลกชั่นหลายชุดในซีซั่นประจำไตรมาส แถมยังมีการเพิ่มจำนวนของ “มินิซีซั่น” ลงในระบบร้านค้าออนไลน์และเว็บไซต์ เป็นคำตอบที่ชัดเจนของเรื่องนี้

Dye-Sub
Image by rawpixel.com on Freepik

ดีไซเนอร์ และ ซัพพลายเชน รวมถึง “เครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่น” ระดับสูงได้มารตฐานสากลที่สามารถพลิกโฉมผลิตภัณฑ์ใหม่ได้นั้นมีความได้เปรียบทางการค้าอย่างมาก แพลตฟอร์มการพิมพ์ดิจิทัล เช่น Dye-Sub เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยในเรื่องนี้ ช่วยสร้างอิมแพคแบบทวีคูณหากผู้ให้บริการรวมมือกับซอฟต์แวร์สมัยใหม่ เพื่อทำงานร่วมกับผู้ค้าปลีกและแบรนด์ในการออกแบบเรียลไทม์ ทำให้การสร้างเสื้อผ้าทำได้รวดเร็วขึ้น

และโลกออนไลน์ใบเดียวกันนี้แหละที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลต่าง ๆ สามารถใช้เป็นตัวกำหนดการออกแบบ คาดการณ์ได้ว่าความเปลี่ยนแปลงแบบไหนจะเป็นเทรนด์ในอนาคต ด้วยระยะเวลาที่สั้นลงเรื่องของซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นตัวช่วยชั้นดี ที่จะสร้างยอดขายและเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ

Cover Image by : Image by rawpixel.com on Freepik

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :

Dye Sublimation Printer Market 2023 Upcoming Trends and Forecast to 2028 | New Revenue Report by Prominent Players, and Incredible Growth Opportunities – MarketWatch

Dye Sublimation Printing Market Key Trends | Smithers

สาระทั่วไป
16/12/2022

เสื้อผ้ากีฬา x รักษ์โลก “ซับลิเมชั่น” พร้อมเป็นทางเลือก?

ในวงการซับลิเมชั่น หากใครที่คลุกคลีกันมาสักพักหรือทำธุรกิจมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของ “ซับลิเมชั่น” น่าจะเคยได้ยินมาบ้างว่าการพิมพ์แบบซับลิเมชั่นทำงานได้ดีกับเส้นใยสังเคราะห์อย่างโพลีเอสเตอร์เท่านั้น แต่ตัวของโพลีเอสเตอร์เองไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร (แม้แต่วัสดุที่ทำจากขวดน้ำรีไซเคิลก็ตาม) และหาก เสื้อผ้ากีฬา ที่ทำจากเส้นใยเหล่านี้ไม่ถูกฝังกลบ สุดท้ายก็มันก็จะไปจบลงที่รูปแบบไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ส่งเสริมการ “รักษ์โลก” เท่าไหร่นัก และทุกวันนี้ sustain product ก็กำลังเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังมุ่งมั่นปลุกกระแสให้ชาวโลกตื่นตัวกันมากขึ้นในทุกวันนี้

ยิ่งเป็นแบรนด์ “ยักษ์ใหญ่” ยิ่งต้องใส่ใจเรื่อง “รักษ์โลก”

แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง อาดิดาส พวกเขาดินหน้าลุยแคมเปญ “รักษ์โลก” มาหลายปีแล้ว โดยมีการร่วมมือกับ พาร์ลีย์ ฟอร์ ดิ โอเชียนส์ (Parley for the Oceans) ซึ่งไม่ใช่แค่ไลน์ผลิตเสื้อฟุตบอลเท่านั้น เพราะไลน์แฟชั่นอย่าง อาดิดาส ออริจินอลส์ ก็ยังเดินหน้าสานต่อแคมเปญนี้อย่างต่อเนื่อง เพิ่งจะเปิดตัวเสือผ้าภายใต้แคมเปญ ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเทคนิคที่น่าสนใจนั้นอยู่ที่ “เสื้อบอล” เสียมากกว่า

เสื้อผ้ากีฬา
Image by gameplan-a.com

ตัวอย่างแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ ” เสื้อผ้ากีฬา รักษ์โลก”

เสื้อบอลที่เป็นแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ ชุดแข่งของสองยักษ์ใหญ่แห่งวงการลูกหนังอย่าง เรอัล มาดริด และ บาเยิร์น มิวนิค ทั้งสองทีมนั้นถูกออกแบบด้วยสีประจำสโมสรล้วนทั้งชุด ส่วนตัวโลโก้สโมสรนั้นทำจากพลาสติกจากมหาสมุทร และลายพิมพ์อันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยด้วยเทคนิคเฉพาะตัวของแบรนด์ โดยทั้งชุดนี้นั้นเป็นสร้างขึ้นจากมลพิษพลาสติกที่อยู่ในทะเล ก่อนถูกนำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแบบ “พาร์ลีย์”

เสื้อผ้ากีฬา
Image by diarioavance.com

นอกจากจะใช้วัสดุที่รักโลกแบบสุด ๆ แคมเปญนี้ยังสะท้อนเรื่องราวและคงความเป็นเอกลักษณ์ของเสื้อแข่งฟุตบอลเอาไว้ ผสมผสานกับกลิ่นอายความมุ่งมั่นของ พาร์ลีย์ ที่มีต่อมหาสมุทร แม้ว่าตัวโลโก้สโมสรของ เรอัล มาดริด และ บาเยิร์น มิวนิค จะเห็นแค่เพียงลาง ๆ แต่ความตั้งใจนี้ก็เป็นข้อตกลงที่ทาง อาดิดาส กับ พาร์ลีย์ อยากจะให้ชุดแข่งจากแคมเปญนี้มีความยั่งยืน ใช้ได้นานที่สุด และไม่กลับมาเป็นมลพิษของโลกแบบง่าย ๆ นั่นเอง

แล้วงานเทคนิคซับลิเมชั่นบน เสื้อผ้ากีฬา “รักษ์โลก” แค่ไหน?

แวะไปพูดถึงเรื่องอื่นเสียยืดยาว แต่ประเด็นสำคัญที่เราจะพูดถึงก็ยังเป็นเรื่องของ “ซับลิเมชั่น” ซึ่งจริง ๆ แล้วเชื่อว่าแคมเปญ อาดิดาส x พาร์ลีย์ นั้นอาจจะใช้เทคนิคขั้นพื้นฐานในการสกรีนลายเสื้อผ้ากีฬา ด้วยเทคนี้นั่นแหละ แต่การเป็นแบรนด์ใหญ่ก็มักจะใช้ชื่อเทคนิคเฉพาะเพื่อสร้างแบรนดิ้งให้เป็นเทคโนโลยีของบริษัท เพราะเอาเข้าจริงการใช้กระบวนการซับลิเมชั่นก็ทำให้คุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าการสกรีนแบบดั้งเดิมมากกมายแล้ว ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น คุณจะใช้น้ำหมึกเพียง 5 มิลลิลิตร เท่านั้น ต่ออัตราส่วนสำหรับการย้อมเสื้อผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 1 กิโลกรัม ซึ่งต่างจากการย้อมแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้น้ำหมึกมากถึง 200 ลิตร สำหรับเสื้อผ้าในปริมาณที่เท่ากัน!

นอกจากเรื่องของตัวหมึกเองแล้ว ตลอดกระบวนการคุณยังไม่จำเป็นต้องใช้สารอันตรายใด ๆ ลงบนผ้าเหมือนกับการย้อมแบบเก่า แถมการใช้เทคนิคซับลิเมชั่นยังแทรกซึมเส้นใยในระดับเซลล์ ไม่ถูกชะล้างออกไปง่าย ให้ผลดีกว่าการย้อมแบบเดิม ๆ อย่างมาก

เริ่มธุรกิจและรักษ์โลกไปพร้อมกันได้ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น

ในส่วนของกระบวนการสกรีนเสื้อด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น รวมถึงการทำลวดลายด้วยเทคนิคนี้บนวัสดุแบบอื่นเพื่อเป็นสินค้าต่าง ๆ เรามีบทความแนะนำมากมายให้เลือกอ่าน และหากคุณกำลังมีแผนที่จะทำธุรกิจ อย่าง “เสื้อผ้ากีฬา” ที่ตอนนี้ต้องบอกเลยว่าการใช้เทคนิคพิมพ์ลายแบบซับลิเมชั่นกำลังมาแรงแบบสุด ๆ เป็น “ตัวตึง” แห่งวงการทำเสื้อผ้ากีฬาเลยก็ว่าได้ แถมนอกจากจะทำง่ายและสะดวกกว่าการสกรีนเฟลกซ์แบบดั้งเดิมแล้วยังรักษ์โลกอีกต่างหาก ลองศึกษากระบวนการซับลิเมชั่นดู บางทีอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับโลกปัจจุบันนี้!

Cover Image : https://www.soccerbible.com/performance/football-apparel/2016/11/adidas-launch-parley-for-the-oceans-collection

Credits: Hanrun paper และ Designboom

สาระทั่วไป
12/11/2022

เทรนด์ กราฟิกดีไซน์ ปี 2023 เจาะงานเด่น เน้นเทคนิคซับลิเมชั่น

บรรยากาศลมหนาวมาเยือนแบบนี้ (แกล้ง ๆ สมมติตามฤดูแล้วกันนะ) เป็นสัญญาณของของการเข้าสู่ปลายปีเชื่อมสู่ปีถัดไป และถ้าเป็นเรื่องของแฟชั่นแล้วล่ะก็ การอัพเดตให้ทันเทรนด์เป็นเรื่องที่พลาดไม่ได้เป็นอันขาด และวันนี้เราจะมาพูดถึงเทรนด์ของงาน “กราฟิกดีไซน์” ที่ตอนนี้ได้ถูกคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าในปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนั้นจะมีงานออกแบบสไตล์ไหนที่เป็นที่นิยมบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าในโลกของแฟชั่นนั้นเราก็จะเห็นว่าบางอย่างก็เวียนกลับมาผสมผสานกับสิ่งใหม่ที่สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นสัดส่วนที่ลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ และก็เช่นเดียวกันกับหลาย ๆ เทรนด์ที่ถูกคาดการณ์ไว้แล้ว ที่เรากำลังจะพูดถึงภายในเนื้อหาด้านล่างต่อไปนี้..

กราฟิกดีไซน์
Image by Freepik

10 อันดับ เทรนด์งาน กราฟิกดีไซน์ ปี 2023

  • Minimal Vintage
  • Photographic Branding
  • The Return of the Sans Serif
  • Rich Jewel Colours
  • Distorted Type
  • Liquid Gradients 
  • Flared Fonts
  • Metaverse
  • Sci-Fi Logos
  • Condensed Typography

ท็อปเทรนด์ กราฟิกดีไซน์ ที่เข้าทางเทคนิคซับลิเมชั่น

เทรนด์การออกแบบที่ได้รับการคาดหมายเลยว่าจะสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจในปี 2023 ได้แก่ แฟลร์ฟอนต์ (Flared Fonts), เมตาเวิร์ส (Metaverse) และการสร้างแบรนด์ด้วยภาพถ่าย (Photographic Branding) โดยฟีลส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งไปที่ “โลกอนาคต” เรียกว่าใช้ธีมนี้เป็นตัวกำหนดโทนเลยก็ว่าได้ นอกจาก 3 แบบหลักที่กล่าวไปยังมีการออกแบบแนว Sci-fi รวมถึงการไล่ระดับสี Liquid Gardients ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละแบบนั้นเหมาะสมกับเทคนิคซับเลเมชั่นอย่างยิ่ง

กราฟิกดีไซน์
Image by adweek.com

ยกตัวอย่าง Liquid Gardients ที่น่าสนใจ

จริง ๆ แล้วเทคนิคนี้แบบดั้งเดิมเป็นการใช้พวกสีน้ำมันในโทนที่ใกล้เคียงกันวาดภาพแบบไล่สีนั่นเอง เป็นเทรนด์ที่มีมานานแล้ว และก็ถูกคาดการณ์ว่าจะคัมแบคในปี 2023 นี้อีก ซึ่งการกลับมาคราวนี้ คุณสามารถนำเทคนิค Liquid Gardients ไปใช้สอดแทรกเป็นสีฟอนต์ก็ได้ หรือจะพวกสีบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนลวดลายสีบนเสื้อผ้า นอกจากจะสะดุดตาแล้ว ยังสื่อได้หลายอารมณ์ ทำให้งานออกแบบดูน่าสนใจอย่างมีนัยยะ

และถ้าในปัจจุบันหากคุณอยากจบงานแบบนี้บนโปรแกรมกราฟิกดีไซน์ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในส่วนของกระบวนการออกแบบบนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมกราฟิกต่าง ๆ แอพพลิเคชั่น บอกเลยว่านั่นไม่ยากเท่ากับการสกรีนให้ทุกสี ทุกรายละเอียด ให้ออกมาเพอร์เฟกต์ลงบนวัสดุต่าง ๆ ที่คุณอยากให้งานศิลปะลงไปสถิตย์อยู่บนชิ้นงานนั้น.. ว่าแล้วอย่ารอช้า เรารีบไปเตรียมกระดาษซับลิเมชั่น หมึกซับฯ กระดาษรองรีด และเซ็ตอัพเครื่องต่าง ๆ ให้พร้อมลุยงานสกรีนกันเถอะ !

เหมาะกับเทคนิคซับลิเมชั่นยังไง?

ที่บอกว่าเทรนด์ทั้งหมดที่พูดไปในหัวข้อก่อนนั้นเหมาะกับงานซับลิเมชั่น ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย โดยเฉพาะหากคุณต้องการให้งานกราฟิกดีไซน์ในอุดมคติถูกถ่ายทอดลงวัสดุชิ้นงานต่าง ๆ แบบครบถ้วน ไม่มีอะไรเหมาะสมไปกว่านี้แล้ว

ด้วยความที่ต้องใช้สีเยอะ มีความซับซ้อนในแต่ละลวดลายสูง รวมถึงเรื่องของการผสมสีของหมึกบนค่า CMYK หากเป็นงานสกรีนบล็อคบอกเลยว่าต้องใช้เทคนิคขั้นสูงมาก ๆ ในการทำ แต่พอเป็นเทคนิคซับลิเมชั่น เรื่องพวกนี้นั้นทำได้ง่ายกว่ามาก เพราะไม่ว่าจะใช้โทนสีผสมยากแค่ไหน ใช้สีในแต่ละลายเยอะเท่าไหร่ เพียงตั้งค่ากำหนดเครื่องปรินท์ให้ได้มาตรฐาน ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับซับลิเมชั่นอย่างถูกวิธี ขั้นตอนที่ยุ่งยากของงานสกรีนแบบเก่า จะถูกเซอร์วิสแบบครบถ้วนด้วยเทคนี้ชนิดที่คุณหายห่วงได้เลย

กราฟิกดีไซน์
Image by Freepik

เทรนด์กราฟิกนี้มาแน่ อัพเดตก่อน ลุยก่อนได้เปรียบ!

เทรนด์เหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่กระแสนิยมที่ผ่านมาผ่านไปรวดเร็วเหมือนอากาศหนาวเมืองไทย ! แต่เทรนด์กราฟิกดีไซน์รวมถึงงานฟอนต์ที่เรานำเสนอและคาดการณ์ว่า “มาแน่” ในปี 2023 จะเป็นตัวกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับกราฟิกดีไซเนอร์ในการผลิตงานสร้างสรรค์ที่ให้ความรู้สึกสดใหม่ ตรงประเด็น และล้ำสมัย ซึ่งอย่างหลังนี้ก็สอดคล้องกับหลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนถ่ายไปสู่เทรนด์แห่งอนาคต เรียกว่าเป็นปีที่หน้าตื่นเต้นสำหรับนักออกแบบ  ส่วนใครที่เป็นผู้ประกอบการ มองหาดีไซน์สำหรับธุรกิจคุณ อย่าลืมนึกถึงงานซับลิเมชั่น รับรองว่าตอบโจทย์กับเทรนด์นี้ได้แน่นอน

Cover Image : Image by pikisuperstar on Freepik

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :

https://www.indesignskills.com/inspiration/the-10-biggest-graphic-design-trends-of-2023/

https://www.creativeboom.com/features/biggest-trends-in-graphic-design-for-2023/

สาระทั่วไป
16/09/2022

5 ขั้นตอนง่าย ๆ DIY ลวดลายบนกระเป๋า Tote Bag สุดชิค ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น

เรียกว่าตอนนี้เราแทบจะพาทําทุกสิ่ง อย่างเท่าที่จะใช้เทคนิคงานซับลิเมชั่นเลยก็ว่าได้! แต่เชื่อเถอะว่าที่ได้แชร์กันไปมันยังไม่หมดง่าย ๆ แค่นี้ และวัสดุที่เราจะพาไปบรรเลงไอเดียสุดแสนบรรเจิดของคุณก็เป็นสิ่งที่รับรองตรงนี้ได้เลยว่าคุณจะต้องหยิบมาใช้มันแน่นอน… นั่นก็คือ กระเป๋า Tote Bag นั่นเอง
หากพร้อมแล้วเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมแล้วไปลุยกันได้เลย!

กระเป๋า Tote Bag งานซับลิเมชั่น สุดคูล ใช้งานได้จริง

หลังจากเคยพาทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จานรองแก้วเอย กรอบรูป รวมถึงเทคนิคสำหรับการค้าอย่างการทำเสื้อผ่านเทคนิคนี้ แต่สำหรับกระเป๋า Tote Bag นี่น่าจะเป็นอะไรที่หลายคนได้ใช้บ่อยเลยล่ะ ยิ่งเดี๋ยวนี้เทรนด์รักษ์โลกเป็นสิ่งที่หลายคนต้องตระหนัก จะไปช้อปที่ไหนการที่เรามีถุงผ้าเป็นของตัวเอง มาจากหลายที่เราทำเองนั่นก็ดูเป็นอะไรที่ยูนีคแบบสุด ๆ เหมาะสำหรับคนเจนใหม่ที่ชอบใส่ความเป็นตัวเองลงไปในทุกดีเทลของการใช้ชีวิต เอาล่ะ… ร่ายยาวมาซะเยอะแล้ว ไปดูอุปกรณ์ที่ต้องใช้และขั้นตอนการทำกันเลยดีกว่า

กระเป๋า Tote Bag

วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • รูปที่ออกแบบเอาไว้
  • Tote Bag โพลีเอสเตอร์ 100%
  • เครื่องปรินท์ซับลิเมชั่น
  • กระดาษทรานเฟอร์
  • เครื่องรีดร้อน
  • กระดาษรองรีด
  • ลูกกลิ้ง
  • หมอนกด (สำหรับงานซับลิเมชั่น)
  • เทปทนความร้อน
  • ถุงมือทนความร้อน

5 ขั้นตอน “เนรมิตกระเป๋า” สู่ความเป็นตัวคุณ

  1. ขั้นตอนแรกสุดเลย ให้คุณจัดการปรินท์รูปที่คุณได้ออกแบบเอาไว้ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ โดยการตั้งค่าแนะนำว่าสามารถใช้ค่ามาตรฐานที่เครื่องปรินท์ของคุณแนะนำเอาไว้ได้เลย
  2. เมื่อได้รูปลงบนกระดาษทรานเฟอร์เรียบร้อย จากนั้นเตรียมกดความร้อน โดยตั้งค่าเครื่องรีดร้อนเอาไว้ที่ 385F (385 องศาฟาเรนไฮต์) และตั้งความดันเครื่องเป็นแสงปานกลาง ก่อนนำหมอนกดใส่เอาไว้ในกระเป๋าผ้าเพื่อจำลองความหนา
  3. ต่อไปให้นำกระเป๋าพระเอกของงานออกมา ตัดกระดาษรองรีดสองแผ่นให้มีขนาดใหญ่กว่าแบบ แล้ววางหมอนกดกับกระดาษรองรีดหนึ่งในแผ่นเอาไว้ในกระเป๋า Tote Bag โดยขั้นตอนนี้กระดาษรองรีดจะช่วยดูดซับหมึกที่ไปผิดทิศทาง ส่วนหมอนกดจะช่วยตรึงพวกแนวตะเข็บเย็บของกระเป๋าให้มีการกดทับจากความร้อนที่สม่ำเสมอกัน และที่สำคัญก่อนจะกดความร้อนซ้ำ ให้ใช้ลูกกลิ้งเก็บฝุ่นที่อาจติดอยู่บนกระเป๋าให้เรียบร้อย ไม่งั้นอาจทำให้ลายที่คุณต้องการติดลงบนงานไม่สวยอย่างที่ตั้งใจไว้
  4. และหากคุณต้องการเพิ่มดีไซน์ลงไปอีกหลังการทำรอบแรก รอบนี้ให้วางรูปบนกระเป๋าได้เลย จากนั้นติดเทปทนความร้อนตามมุม เช็คให้แน่ใจว่ารูปจะไม่ขยับ ก่อนนำกระดาษรองรีดมาวางทับ จากนั้นจึงค่อยกดแท่นพิมพ์ลงมาสัก 60 วินาที
  5. พอครบเวลาแล้วก็เอากระดาษรองรีดออกได้เลย ตรวจเช็คความเรียบร้อยของลาย แล้วก็ใช้ลูกกลิ้งเก็บงานพวกเศษผ้า เศษต่าง ๆ ให้เนี้ยบ แค่นี้กระเป๋าสุดยูนีคก็พร้อมลุยไปกับคุณทุกที่แล้ว!
กระเป๋า Tote Bag

ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีกระเป๋าลายเปล่า ๆ วางขายเยอะแยะให้คุณนำมาดีไซน์ตามแบบที่คุณอยากโชว์ไอเดีย และถ้าอยากหารายได้เสริม นี่เราเห็นตามร้านค้าออนไลน์มีขายกระเป๋าลายเปล่า ๆ แบบส่งเยอะแยะเต็มไปหมด นอกจากตัวคุณจะมีกระเป๋าลายชิค ๆ เอาไว้ใช้เองแล้ว ยังสามารถแบ่งปันไอเดียสู่ท้องตลาด ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ บางทีนี่อาจเป็นช่องทางของรายได้ใหม่ของคุณก็ได้นะ ลองทำดู!

ขอบคุณเทคนิคดี ๆ จากช่อง Design Bundles : https://youtu.be/DW5mWcaN7sM

กระดาษรองรีด
05/05/2022

ซับลิเมชั่น x ศิลปะแคนวาส “การทำ Gallery Wrap ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น”

พบกันอีกแล้วกับเทคนิคงานซับลิเมชั่น ที่อาจช่วยให้คุณได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือเริ่มต้นธุรกิจเล็ก ๆ ได้ด้วยตัวคุณเองคนเดียว!

จากที่เคยนำเสนอเกี่ยวกับการสกรีนเสื้อยืดพิมพ์ลาย เสื้อกีฬา คีย์แคปสำหรับเมคานิคอลคีย์บอร์ด ตลอดจนวัสดุอื่น ๆ ตอนนี้ถึงทีของ “ผ้าใบ” กันบ้าง โดยเราได้นำวิธีทำ “Gallery Wrap” ซึ่งก็คือการขึงผ้าใบที่มีรูปลงบนกรอบไม้ จะเพื่อเป็นแกลลอรี่ส่วนตัว จะนำไปเป็นของขวัญ วางขายเป็นงานศิลป์ หรืออะไรก็ตามแต่ มีสกิลนี้ติดตัวไว้ ยิ่งหากมีอุปกรณ์อยู่แล้ว รับรองว่าคุ้มค่าแก่การเสียเวลากับเนื้อหาวันนี้แน่นอน

Gallery Wrap

Gallery Wrap คืออะไร?

Gallery Wrap คือ การนำผ้าใบหรือผ้าอื่น ๆ ที่คุณดีไซน์มาขึงกับกรอบไม้ ส่วนมากที่นิยมกันช่วงก่อนจะเป็นการวาดภาพลงบนผ้าใบที่มีกันมาเนิ่นนาน ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคนิคการพิมพ์ลายลงผ้าใบมากมาย และการทำ “Dye Sub” ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจ เนื่องจากง่ายและใช้เวลาไม่นาน โดยเฉพาใครที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับกับงานซับลิเมชั่นอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม นอกจากหาซื้อชนิดผ้าที่ต้องการและทำกรอบไม้เตรียมไว้ตามแต่จะดีไซน์ ส่วนขั้นตอนการทำเราไปเสาะหามาให้แล้ว ไปติดตามกันเลย

อุปกรณ์ & ขั้นตอนการทำ Gallery Wrap ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น

ก่อนอื่นเลยเรามาดูอุปกรณ์ที่จำเป็น ซึ่งบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่หากมีครบทุกอย่างจะช่วยงานของคุณออกมาดูเนี้ยบละเอียดมากขึ้นดั่งมือโปรเลยล่ะ

  • ผ้าใบ (หรือผ้าชนิดอื่น ๆ)
  • เครื่องยิงแม็ก
  • กรรไกรสำหรับตัดผ้า
  • ค้อน
  • คีมหนีบผ้าใบ (ใช้ขึงให้ตึง จะทำได้ดีกว่าใช้มือดึงเอง)
  • สเปรย์เคลือบซับลิเมชั่น
  • ลูกกลิ้งเก็บเศษผ้า เศษขน
  • กรอบไม้ตามขนาดและสัดส่วนที่ต้องการ
  • กระดาษรองรีด

ส่วนพวกเครื่องรีดร้อน เครื่องปรินท์หมึกซับลิเมชั่น กระดาษซับลิเมชั่น เราจะไม่ขอรวมอยู่ในอุปกรณ์ที่ต้องมี เนื่องด้วยนี่เป็นการสาธิตจากคนที่มีอยู่แล้ว หรือถ้าหากคุณมองเห็นไอเดียการต่อยอดธุรกิจจากคอนเทนต์นี้ จัดไปจัดหาเซ็ตเล็ก ๆ มาทำเป็นจริงเป็นจังก็ได้เหมือนกัน

Gallery Wrap

ขั้นตอนการปรินท์ซับลิเมชั่นลงผ้าใบ

  1. อย่างแรกเลยคุณจำเป็นต้องมีกรอบไม้ที่จะใช้มารออยู่ก่อน พร้อมด้วยรูปที่คุณต้องการ ทำการปรินท์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่น ขนาดควรเล็กกว่าตัวผ้าใบและพอดีกับกรอบไม้ที่จะใช้ทำ
  2. จากนั้นนำกระดาษรองรีดวางเป็นชั้นแรก นำผ้าใบที่เตรียมไว้วางทับ นำเอาลูกกลิ้งเก็บเศษผ้ามากลิ้งให้ทั่วผ้าใบอย่าให้มีเศษติด
  3. นำกระดาษรองรีดมาทับอีกหนึ่งชั้น ตั้งค่าเครื่องรีดร้อนที่ 390 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วกดทับลงมาประมาณ 30 วินาที
  4. ในขั้นตอนนี้จะคล้ายกันกับข้อ 2 เลย เพียงแต่หลังวางผ้าใบแล้วใช้ลูกกลิ้งเก็บเศษอีกรอบ ให้นำเอารูปภาพที่คุณปรินท์ใส่กระดาษซับลิเมชั่นเอาไว้มาวางต่อ แล้วค่อยนำเอากระดาษรองรีดวางในชั้นสุดท้าย
  5. ข้อนี้จะทำหรือไม่ทำก็ได้ หากคุณมีสเปรย์เคลือบสำหรับงานซับลิเมชั่น ให้ใช่พ่นลงบนกระดาษบริเวณที่มีรูปอยู่ลงไปเล็กน้อย จะทำให้ภาพติดดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ข้ามไปได้เลย
  6. เมื่อทำเสร็จในข้อ 4-5 แล้ว ตั้งค่าเครื่องรีดร้อนที่อุณหภูมิเท่าเดิม แต่เพิ่มระยะเวลาเป็น 50-70 วินาที แล้วแต่ชนิดผ้าใบที่ใช้

ขั้นตอนการทำ Gallery Wrap

เมื่อได้รูปบนผ้าใบตามที่ต้องการแล้ว ต่อไปจะเป็นส่วนของการขึงลงบนกรอบไม้

  1. นำผ้าใบวางคว่ำหน้า แล้วนำกรอบไม้วางทับ จัดให้พอดีกับรูปภาพ
  2. เริ่มขึงจากส่วนบนหรือล่างก่อนก็ได้ เมื่อพับเข้ากับตัวกรอบแล้ว ยิงแม็กเพื่อล็อกแล้วใช้ตะปูตอกให้สนิท
  3. ให้จำไว้ว่าในด้านตรงข้ามที่ทำหลัง จำเป็นต้องใช้คีมช่วยดึงผ้าใบเสมอ
  4. ยิงแม็กเก็บมุมให้ผ้าใบตึงได้รูปที่สุดทั้งบนและล่าง จึงค่อยใช้กรรไกรตัดผ้าใบส่วนเกินออก
  5. มุมซ้ายมุมขวาทำเหมือนกันเลย เริ่มจากตรงกลางแล้วค่อยเก็บมุม ฝั่งไหนทำที่หลังใช้คีมดึงผ้าใบเหมือนเดิม
  6. เมื่อตัดผ้าส่วนเกินแล้ว ให้พับเข้ามุมแล้วใช้แม็กยิงล็อก ในขั้นตอนนี้สามารถใช้วิจารณญาณส่วนตัวตัดสินได้เองเลยว่าควรล็อกจุดไหนในด้านหลังกรอบ เน้นแค่ให้ด้านหน้าสวยงามก็พอ
Gallery Wrap

ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก Channel: Condé Systems : (976) Creating A Dye Sublimation Gallery Wrap – – YouTube

เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่อยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ย… ก็อย่างว่าแหละ ยิ่งหากมีอุปกรณ์สำหรับการทำงานซับลิเมชั่นแบบครบเซ็ตอยู่แล้ว การทำ Gallery Wrap นั้นง่ายไม่ต่างกับการสร้างสรรค์ผลงานลงบนวัสดุแบบอื่นที่ใช้เทคนิคซับลิเมชั่นเลยล่ะ มีบอกทั้งอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีทำครบขนาดนี้ ลองทำกันดูได้เลย ออกมาเป็นรูปแบบไหน หรือมีเทคนิคใหม่ ๆ มาแชร์กัน แวะมาบอกกันด้วยนะ!

สาระทั่วไป
02/09/2021

ไม่ยากอย่างที่คิด…เริ่มต้นธุรกิจงานซับลิเมชั่น ด้วยเครื่องรีดร้อนชุดเริ่มต้น

ในสภาวะเศรษฐกิจแบบที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ปัจจุบันนี้ การเริ่มต้นธุรกิจอะไรสักหนึ่งอย่างต้องใช้เงินทุนมากพอสมควรเลยใช่มั้ยล่ะ.. แต่สำหรับงานดีไซน์ งานศิลปะต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแฟชั่นลวดลายเสื้อผ้า ลายแก้ว ตลอดจนถึงลายบนเคสมือถือต่าง ๆ เราได้แนะนำเทคนิคการ D.I.Y เอาไว้มากมายให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้ จะเพื่อเอาไว้ใช้เองเริ่ด ๆ หรือจะทำขายเป็นรายได้พิเศษในช่วงนี้ แม้แต่การคิดการใหญ่เป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าที่คุณสามารถดีไซน์ลวดลายต่าง ๆ ได้อย่างอิสระด้วยไอเดียของคุณ..

ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานสกรีนขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีทีมงาน มีเพียงไอเดีย + สองมือของคุณ และเทคนิคการสกรีนเสื้อแบบซับลิเมชั่นที่คุณไม่ต้องไปหาจากไหน ที่นี่มีรวบรวมเอาไว้เพียบให้คุณได้เลือกหยิบใช้ตามความถนัด ฟิวชั่นกับอุปกรณ์ชุดเริ่มต้นธุรกิจที่ไม่ได้ใช้เงินมากมายอย่างที่คิด หากคุณอยากสร้างแบรนด์เสื้อผ้า แก้วน้ำ เคสมือถือ ด้วยตัวเองล่ะก็ มั่นใจได้เลยว่าไอเดียที่เราจะมานำเสนอในวันนี้จะช่วยคุณลดต้นทุน คุ้มค่ากว่าการไปรับมือขายต่ออีกที แถมยังได้เพิ่มมูลค่าของสินค้าด้วยลวดลายที่มีความยูนีคในแบบฉบับของคุณแบบไร้ขีดจำกัดอีกด้วย

เตรียมตัวอย่างไร หากมีไอเดียแล้วต้องการเริ่มแบรนด์ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น?

ก่อนอื่นเลย หากคุณกลัวว่าสิ่งที่คุณจะทำขายนั้นจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า ก็อาจต้องเช็คนิดนึงในเรื่องของลวดลายต่าง ๆ ที่คุณได้หาเอาไว้ แต่หากคุณมั่นใจว่าทุกแบบ ทุกดีไซน์ นั้นล้วนเกิดขึ้นจากไอเดียของคุณล่ะก็ ไอเดียเริ่มต้นธุรกิจวันนี้นั้นเหมาะสำหรับคุณอย่างมาก เพราะคุณสามารถทำที่บ้านได้ทันที เพียงมีอุปกรณ์ชุดเริ่มต้นธุรกิจสำหรับงาน “ซับลิเมชั่น” ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้

อุปกรณ์เริ่มต้นธุรกิจซับลิเมชั่นที่ใช้ได้ทันที

  • เครื่องรีดร้อน (เครื่องสกรีนที่สามารถรองรับขนาด A3+)
  • เครื่องปรินท์ที่รองรับหมึกซับลิเมชั่น
  • หมึกซับลิเมชั่น
  • กระดาษซับลิเมชั่นขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะกับงานของคุณ

โดยสำหรับเครื่องสกรีนนั้นจริง ๆ แล้วแต่งบที่คุณได้วางไว้เลย ปัจจุบันมีทั้งเครื่องสกรีนที่ออกแบบมาสำหรับใช้ปรินท์งานสกรีนแก้วโดยเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคอะไรยุ่งยากคุณก็สามารถทำได้ทีละจำนวนมาก ๆ ตามกำลังผลิตที่เหมาะสมได้สะดวกกว่าที่ต้องมาประยุกต์จะเครื่องรีดร้อนปกติเลยด้วยซ้ำ

ซับลิเมชั่น

จะเห็นว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้หลัก ๆ หากไม่รวมขั้นตอนการออกแบบ ที่ไม่ว่าคุณจะวาดมือแล้วดราฟต์ลงคอมพิวเตอร์บนโปรแกรมที่รองรับ หรือดีไซน์ผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop / Illustrator ก็ตาม หากเสร็จสิ้นจากการดีไซน์ มีลายที่คุณเตรียมพร้อม สั่งพิมพ์ลายออกมารอสกรีนไว้เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นธุรกิจมีเพียงแค่ 4 อย่างตามที่กล่าวไปข้างต้นเท่านั้น 

ซึ่งหากเป็นชุดเริ่มต้นธุรกิจที่คุณต้องการความครอบคลุมสักหน่อย ทำได้หลายแบบตั้งแต่เสื้อผ้า จนถึงงานเล็ก ๆ อย่างเคสโทรศัพท์มือถือ ใช้เงินทุนไม่ถึง 20,000 บาท ในส่วนของขั้นตอนนี้ และหากคุณต้องการลุยงานลายแก้วอย่างเดียว ใช้ทุนเริ่มต้นไม่เกินหมื่น แล้วอย่าลืมว่าหากลายต่าง ๆ ที่คุณออกแบบนั้นเป็นงานที่ยูนีคจริง ๆ ก็ยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าของที่เป็นแบบเหมามาขาย แถมอยากจะดีไซน์แบบไหน ยังไง อุปกรณ์เพียงชุดเดียวพร้อมตอบสนองงานของคุณให้ออกมาเป็นจริงได้ทันทีไม่ต้องง้อโรงานสกรีนเสื้อเลย

ซับลิเมชั่น

ช่องทางขายสินค้าสมัยใหม่ พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจในยุค โควิด-19

ยุคสมัยนี้เราไม่จำเป็นต้องเช่าแผงตามตลาด หรือต้องมีหน้าร้านที่ทำให้ต้องใช้ทุนเริ่มต้นมโหฬารแบบยุคก่อนแต่อย่างใด ตอนนี้มีช่องทางโซเชียลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุค, อินสตราแกรม และ ติ้กต้อก ที่คุณใช้เป็นหน้าร้านออนไลน์ของคุณได้ อยากจะไลฟ์สดขายสินค้า หรือจะลงทุนยิงแอดเล็กน้อย ศึกษาเทคนิคการขายเพิ่มเติมจากอินเทอร์เนตแล้วบรรเลงได้เลย ส่วนในเรื่องของเทคนิคงานซับลิเมชั่นนั้น หากต้องการเริ่มต้นล่ะก็ เรามีไอเดียเจ๋ง ๆ แชร์ไว้เพียบ ลองดู!

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Texgraff.com และ tshirtprinterschool.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น, กระดาษรองรีด, สาระทั่วไป, หมึกซับลิเมชั่น, เครื่องรีดร้อน