18/05/2016

เว็บจำลองการออกบบลวดลายบนเคสไอโฟนด้วยกระดาษทรานเฟอร์

สวัสดีค่า มาพบกันอีกเเล้วในบทความเเนวสร้างสรรค์ไอเดียของ Bestsublimationthai.com หากตอนนี้ใครติดตามข่าวคราวของโทรศัพท์มือถืออยู่ ก็น่าจะพอทราบกันดีว่า ตอนนี้กระเเสนิยมของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟน รุ่นเอสอี (SE) ที่กำลังจะออกอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้มาเเรงมา และงาน Mobile Thailland Expo 2016 ก็ ใกล้เข้ามาอีกแล้วนะคะ เมื่อมีไอโฟน ก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องซื้อเคสมาป้องกันรอยขีดข่วน ยิ่งเคสไอโฟนสวยๆ ด้วยแล้วละก็ ยิ่งน่าสนใจและน่าใช้เข้าไปใหญ่เลยละค่ะ


Bestsublimationthai.com จึงอยากนำเสนอเว็บจำลองการออกบบลวดลายบนเคสไอโฟนด้วยกระดาษทรานเฟอร์ซึ่งมีประโยชน์มาก โดยเว็บนี้มีชื่อว่า http://custom.case-mate.com/diy ประโยชน์หลักๆ ของเว็บนี้คือคุณสามารถเข้าเว็บไปเผื่อออกแบบลวดลายบนเคสไอโฟนของคุณได้ตามใจชอบ ด้วยการอัพ โหลดรูปต่างๆ เข้าไปบนเว็บ และลองนำไปวางทาบลงบนเคสไอโฟนได้เลย ซึ่งทั้งหมดเป็นการจำลองก่อนการออกแบบนะคะ เพื่อให้เราได้เห็นภาพก่อนจะนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ แล้วรีดร้อนบนเคสเปล่าผ่านเครื่องรีดร้อนอีกทีค่ะ โดยเว็บนี้รองรับขนาดของเคส ไอโฟน 6 ไอโฟน 6 พลัส ไอโฟน 5 (รวมไปถึงไอโฟน 6 เอส เเละ เอสอี เพราะมีขนาดเท่ากันกับรุ่นที่กล่าวมา)

เมื่อเข้ามาหน้าเว็บ ก่อนอื่นเลยคือต้องเลือกรุ่นไอโฟนที่คุณต้องการ มีรุ่นอะไรบ้างก็ตามที่ได้กล่าวไปแล้วค่ะ

กระดาษทรานเฟอร์

ในที่นี้เราเลือก ไอโฟน 6 มาเป็นตัวอย่าง เมื่อเลือกแล้วก็จะเข้าสู่หน้าหลักของการออกแบบลวดลายจำลองก่อนนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ค่ะ

กระดาษทรานเฟอร์

สามารถเลือกสีพื้นหลังเพลนๆ ก็ได้ หรือเลือกพื้นหลังเป็นแบคกราวน์ของรูปที่จะวางทับอีกทีก็ได้ค่ะ

กระดาษทรานเฟอร์

ตัวอย่างการอัพโหลดรูปจากคอมพิวเตอร์เพื่อลองนำไปวางบนเคสเพื่อให้เห็นภาพก่อนสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์

กระดาษทรานเฟอร์

อย่าลืมอ่าน Help นะค่ะ จะได้ทราบถึงข้อกำหนด เเละทริคต่างๆ ในการทำ

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
27/06/2014

การออกแบบลวดลายบนแก้วกาแฟด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากการระเหิดของหมึกซับลิเมชั่น

สวัสดีเพื่อน ๆ ค่า วันนี้ bestsublimationthai.com จะขอนำเสนอเทคนิคงานซับลิเมชั่นดี ๆ เช่นเคยค่ะ สำหรับวันนี้จะเป็นการทำซับลิเมชั่นลงบนแก้วกาแฟ ซึ่งการทำงานซับลิเมชั่นลงบนเเก้วจะต้องใช้ความชำนาญเเละเครื่องมือเยอะกว่าการทำบนวัสดุพวกผ้าหรือเสื้อยืด แต่รับรองว่าสวยไม่เเพ้กัน ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ คุณภาพของหมึกซับลิเมชั่นที่ใช้ด้วยค่า รวมถึงเครื่องรีดร้อนที่ใช้และไม่ยาก และเครื่องรีดร้อนจะต้องเป็นประเภทที่รองรับการทำซับลิเมชั่นบนเเก้วด้วย แต่ในวันนี้ บทความของเราจะเป็นการแนะนำการออกแบบลวดลาย การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกเเบบ รวมถึงการตั้งค่าต่าง ๆ ในโปรแกรม เพื่อให้ ภาพที่เราจะนำไปสกรีนลงบนแก้ว มีความสวยงาม มีขนาดที่พอเหมาะกันพอดีกับตัวเเก้ว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ นะคะ เพราะไม่ว่าคุณจะใช้หมึกซับลิเมชั่นที่คุณภาพดีเเค่ไหนปริ้นภาพลงบนกระดาษ จากเครื่องปริ้นเตอร์ก็ตาม หากไม่ตั้งค่าในโปรแกรมการออกเเบบให้ดี ก็อาจจะสิ้นเปลืองทั้งกระดาษ หมึกซับลิเมชั่น และเสียเวลาอีกด้วยค่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณบทความดี ๆ มีสาระจากเว็บไซต์ http://www.sawgrasseurope.com/education-events/sublimation-knowledge-base/tips-tricks/how-to-create-latte-mug-template

สำหรับโปรแกรมที่จะใช้ออกแบบในบทความนี้ก็จะเป็น Photoshop และแก้วที่ใช้เป็นตัวอย่างในบทความจะเป็นแก้วกาแฟลาเต้ ซึ่งหากใช้เเก้วขนาดอื่นๆ อาจจะต้องลองเทียบอัตราส่วนเอาเองจากตัวอย่างนะค่ะ

1. วัดความสูงและเส้นรอบวงของปลายด้านล่างของแก้ว อย่าลืมเว้นที่จากช่องว่าง (ประมาณ 1-1.5 ซม. ) ที่ด้านข้างของที่จับแก้วและช่องว่างประมาณ 2-3 มม. ที่ด้านบนและด้านล่างของแก้วแต่ละใบ ในตัวอย่างที่เรามีการวัดความสูงของ 9.5cm 17cm และเส้นรอบวงของด้านล่างของแก้วตามรูปประกอบค่า

2. ใน Photoshop สร้างเอกสารใหม่ และตั้งค่ากว้าง 17cm ความสูง 9.5 ซม. , ความละเอียด 300dpi, โหมดสี RGB และพื้นหลังโปร่งใส

หมึกซับลิเมชั่น

3. เติมสีใน Layer ชั้นแรกของเอกสารที่มีสีใด ๆ โดยใช้เครื่องมือถังสี (Paint Bucket Too)

4. Unlock Layer ชั้นแรก ด้วยการดับเบิลคลิกที่ชั้นพื้นหลัง และเลือก Yes

หมึกซับลิเมชั่น

5. เพิ่ม Canvas Size และกำหนดค่า Height 30cm, Width 20cm

หมึกซับลิเมชั่น

6. การออกแบบแก้วลาเต้ควรจะบิดเบี้ยวเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับรูปร่างของกรวยแก้ว จึงต้องสร้าง Smart Object ขึ้นเพื่อนำไปใช้ โดยการคลิกขวาที่ Layer และเลือก Convert to Smart Object ตามภาพ

หมึกซับลิเมชั่น

7. จากนั้นเราจะทำการสร้างส่วนเว้าโค้งให้กับเอกสารของเรา โดยการคลิกที่ Layer ของเราและกด Ctrl + T แล้วที่ Menu bar เลือก Edit > Transform > Warp

หมึกซับลิเมชั่น

8. เลือกส่วนของ Warp เลือก Arc เเละระบุค่าเป็น 26% ในส่วนของ Bend จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกเพื่อยอมรับการแก้ไข ตามภาพ

หมึกซับลิเมชั่น

9. กำหนด Stroke ให้เท่ากับ 1 px ซึ่งตอนนี้เราจะมีหน้าว่าง ๆ ที่สามารถนำมาหุ่มล้อมรอบตัวแก้วได้ขนาดพอดีกัน ซึ่ง ณ จุดนี้เราสามารถปริ้นหน้าเปล่า ๆ นี้ออกมาลองหุ้มรอบตัวแก้ของเราก่อนได้ว่ามีขนาดพอดีหรือไม่ ก่อนที่จะทำการสร้างลวดลาย

10. หากพบว่าขนาดพอดีเเล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Layer icon (คนละส่วนกับ Layer name) เพื่อเปิดส่วนของ Smart Object ที่สร้างไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า

11. ในส่วนของการจัดการกับ Smart Object จะเปิดขึ้นมาใน Tab ใหม่ ซึ่งเราสามารถออกแบบสร้างลวดลายได้เลยในส่วนนี้ หรือจะนำ template รูปแบบต่าง ๆ ที่มีในโปรแกรมมาใส่เลยก็ได้ ตามภาพตัวอย่าง จากนั้นบันทึก Smart Object เเละปิด Tab นี้ได้เลย

หมึกซับลิเมชั่น

12. จะเห็นว่าหลังจากบันทึกและปิด Tab Smart Object แล้ว ลวดลายของ Smart Object จะถูกสร้างทับลงบนเอกสารเปล่า ๆ ที่เราสร้างไว้ หากปริ้นออกมาและนำไปทำซับลิเมชั่นตามกระบวนการ ก็จะสามารถสร้างลวดลายลงบนแก้วกาแฟนี้ได้อย่างสวยงาม ที่ได้จากการระเหิดของหมึกซับลิเมชั่นลงบนวัสดุนั้นเอง

หมึกซับลิเมชั่น
หมึกซับลิเมชั่น

สำหรับบทความต่อไป ก็จะยังคงอยู่กับการทำซับลิเมชั่นลงบนแก้วอีกเช่นเดิม ครั้งหน้าเราจะเอา template ที่เป็นของฟรี ๆ มาให้ดาวน์โหลดไปลองใช้กันค่า รอติดตามน่ะคะ

หมึกซับลิเมชั่น
10/02/2014

กระดาษทรานเฟอร์ VS กระดาษซับลิเมชั่น

กระดาษทรานเฟอร์

สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรักค่ะ อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลแห่งความรักกันเเล้วนะคะ สำหรับเนื้อหาสาระดี ๆ ในวันนี้ Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้ที่น่าสนใจอีกอย่างนึงที่ควรรู้เกียวกับกระดาษทรานเฟอร์คะ ซึ่งบทความนี้ขอ ขัดการนำเสนอเนื้อหาในสไตล์ DIY กันสักหน่อยนะคะ ^^” เนื่องจากว่าหลายท่านมีความสงสัย และสับสันระหว่างกระดาษทรานเฟอร์ และกระดาษซับลิเมชั่นว่าทั้ง 2 ชนิดนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันคะ

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่ากระดาษทรานเฟอร์ และกระดาษซับลิเมชั่นต่างกันนะค่ะ ถึงแม้จะเป็นกระดาษที่ใช้ในงานประเภทเดียว กันคืองานสกรีน แต่ทั้ง 2 อย่างมีกระบวนการการสกรีนที่ต่างกัน โดยกระบวนการการสกรีนของกระดาษทรานเฟอร์จะเรียกว่า การทำฮีตท์ทรานเฟอร์ ส่วนกระบวนการของกระดาษซับลิเมชั่นจะเรียกว่า การทำซับลิเมชั่น

การทำซับลิเมชั่น: การทำซับลิเมชั่นจะเป็นการสกรีนที่ใช้ความร้อน ในความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อทำให้หมึกเกิดการระเหิด และติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า เปรียบสเหมือนการสักลงบนผิวหนัง หากใช้มือลูบจะไม่พบรอยนูนของลายสกรีนเลย เพราะลายสกรีนและสี ของลวดลายได้ถูกระเหิดและติดยึดแน่นเเทรกซึมเข้าไปในเส้นใยของผ้าเรียบร้อยเเล้ว ซึ่งทำให้ลวดลายสกรีนดังกล่าวมีความหนาแน่น คงทน และไม่มีการหลุดลอก แม้ว่าจะผ่านการซักหลาย ๆ ครั้งแล้วก็ตาม และยังสามารถสร้างลวดลายต่าง ๆ ลงบนวัสดุอื่น ๆ เช่น แก้ว, แผ่นรองเมาส์, กระเบื้อง, จานรองแก้ว, แก้ว ฯลฯ แต่พบว่าการทำซับลิเมชั่นถึงแม้ตัวกระดาษซับลิเมชั่นจะมีราคาถูกกว่ากระดาษทรานเฟอร์ แต่จำเป็นต้อง ลงทุนในการซื้อหมึกซับลิเมชั่นและเครื่องกดความร้อนที่ต้องใช้เเรงดันในการทำให้หมึกระเหิด ทั้งยังไม่สามารถสกรีนลงบนผ้า Contton 100% ได้

การทำฮีตท์ทรานเฟอร์: เป็นการการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งในกระดาษทรานเฟอร์จะมีสารเคมีและแว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนลง บนผืนผ้าได้โดยใช้ความร้อน ซึ่งความร้อนจากเตารีดก็สามารถทำได้ แต่กระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดลอก ความสามารถติดทนของสติ๊กเกอร์ก็อาจหลุดได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น กระ ดาษทรานเฟอร์มีราคาที่สูงกว่ากระดาษซับลิเมชั่นเล็กน้อย แต่สามารถทำการสกรีนเองได้โดยใช้ต้นทุนที่ไม่สูงมาก จะเห็นว่าจากบทความที่ Bestsublimationthai.com ได้นำเสนอไปหลาย ๆ บทความที่เกี่ยวกับ DIY by กระดาษทรานเฟอร์ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า คนทั่วไปก็ สามารถทำการสกรีนเองได้ เพียงเเค่มีเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทหรือเลเซอร์ และใช้เตารีดในการรีดลายลงเสื้อ เเละสามารถสกรีนได้ทั้งเสื้อสีอ่อนหรือเข้มก็ได้ เเต่ต้องใช้กระดาษทรานเฟอร์คนละประเภทกัน

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการทำซับลิเมชั่นกับการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ ก็จะคล้ายกับการสักกับการติดรูปลอก แต่อย่างไรก็ตามกระดาษทั้ง 2 ชนิดจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานสกรีน หรือให้เกิดความเหมาะสมต่อการลงทุนในธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่นำ กระดาษเหล่านี้ไปใช้ ซึ่งหากท่านผู้อ่านที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำซับลิเมชั่น Bestsublimationthai.com เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของซับลิเมชั่นไว้แล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะไรคือ ซับลิเมชั่น ? หรือ สิ่งจำเป็นในการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น เลยค่ะ และบทความต่อไป…แน่นอนค่ะ เป็นบทความดี ๆ ที่เกี่ยวกับ DIY อีกเเน่นอน รอติดตามนะค่าาาา

ขอบคุณรูปภาพตัวอย่างจากเว็บไซต์ http://www.signdepot.eu และ http://image.made-in-china.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
03/02/2014

D.I.Y. กระดาษทรานเฟอร์กับการถ่ายโอนความร้อนลงวัสดุที่ไม่ใช่ผ้า

สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์จ้า สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านและผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษทรานเฟอร์ค่า สำหรับวันนี้ Bestsublimationthai.com มีบทความดี ๆ มานำเสนออีกเช่นเคย และยังคงความเป็น DIY by Transfer Paper อีกเหมือนเดิมค่ะ แต่ว่า… DIY คราวนี้จะแตกต่างจากที่นำเสนอเล็กน้อย!!?? นั้นคือ…จากที่เราทราบกันมาบ้างเเล้วว่ากระดาษทรานเฟอร์ สามารถนำไปใช้พิมพ์ภาพลงบนตัวกระดาษ แล้วนำไปถ่ายโอนความร้อนลงบนผ้า เพื่อใช้ในงานสกรีน

แต่บทความนี้ เราจะนำกระดาษทรานเฟอร์ที่ถูกพิมพ์ภาพลงบนกระดาษเเล้วไปถ่ายโอนความร้อนลงบนวัสดุที่มีพื้นผิว เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ผ้า! นั่นคือ ไม้ ซึ่งหากคุณอ่านบทความนี้เเล้ว คุณสามารถนำไปลองทำดูเพื่อสร้างสรรค์งานไม้ที่มีคุณค่า หรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยตัวเอง เเละยังมีลวดลายน่ารัก ๆ ตามความต้องการของเรา ต้องขอขอบ คุณข้อมูลขั้นตอนวิธีที่มีประโยชน์ และเป็นอีกงานที่น่าสนใจมาก ๆ จากเว็บไซต์ http://www.toolgirl.com/toolgirl/2010/08/transfering-images-to-wood-using-your-inkjet-printer.html ซึ่งเจ้าของบทความได้ลองลงมือทำ และรีวีวไว้ว่า เค้าได้ลอง ทำลวดลายบนจานรองแก้วจากไม้อัด ซึ่งมีลวดลายที่เกิดจากการนำภาพดิจิตอลและถ่ายโอนความร้อนไปยังไม้อัด หรืออาจใช้ไม้เนื้อแข็งในงานอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งเค้าได้ทำแผ่นรองเมาส์, โต๊ะทำงาน, กระเบื้องไม้บุผนัง และยังมีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อื่น ๆ อีกที่ยังไม่ทำเสร็จ ซึ่งเค้าบอกว่าเป็นงานที่สนุก ทำได้ง่ายและราคาถูก (สุดยอดดดด)

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ สำหรับขั้นตอนวิธีต่าง ๆ ก็มีไม่มาก เข้าใจได้ง่าย ตามต่อไปนี้เลยค่ะ


1. ขั้นตอนเเรกเป็นอะไรที่เราคุ้นเคยกันดี แน่นอนอยู่เเล้วค่ะ นั้นคือการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ โดยใช้เครื่องปริ้นเตอร์ แบบอิงค์เจ็ท ปริ้นภาพสวย ๆ ที่ออกแบบจากโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ และเเน่นอนต้องอย่าลืมกลับภาพในโหมด Mirror Image เพื่อให้เวลาที่ถ่ายโอนภาพลงบนพื้นผิววัสดุหรือในที่นี้คือ ไม้ จะได้ไม่กลับด้านจากซ้าย เป็นขวา และอย่าลืมตัดขอบสีขาวรอบภาพที่ไม่เกี่ยวข้องออก

2. ตัดไม้อัด แบบแผ่นขนาดประมาณ 2×2 ซึ่งคุณสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป (แนะนำให้ใช้ไม้อัดแบบ Baltic Birch และบ้านเราสามารถหาซื้อได้ตาม Homepro หรือ The Depot ทั่วไปค่ะ)

3. ขัดผิวไม้ด้วยกระดาษทราย เพื่อให้พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ จะส่งผลดีเวลาที่ทำการถ่ายโอนความร้อน โดยการใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ขัดก่อนในครั้งแรกจนพื้นผิวค่อนข้างเรียบเสมอกัน จากนั้นขยับขึ้นเป็นเบอร์ 180 – 220 เพื่อใช้ในการเก็บงาน

4. ขั้นตอนนี้จะเป็นการถ่ายโอนความร้อน โดยเตารีดที่ใช้ต้องแห้งและไม่ใช่เตารีดไอน้ำ โดยคุณต้องกดเตารีดลงบนกระดาษทรานเฟอร์ที่คว่ำภาพลงบนแผ่นไม้ ทำการรีดให้ทั่วทั้งแผ่น ใช้แรงกดที่สม่ำเสมอ(สำคัญ) เป็นเวลาประมาณ 2 นาที จาก นั้นลองทดสอบว่าภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ ได้ถูกถ่ายโอนลงบนแผ่นไม้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการตรวจสอบมุมของภาพว่าถูกติดลงบน แผ่นไม้แล้วหรือยัง จากนั้นจึงค่อย ๆ ลอกกระดาษส่วนที่เหลืออกอย่างช้าเพื่อตรวจสอบภาพในจุดอื่น ๆ ซึ่งในขณะนี้เตารีดยังคงกดอยู่บนกระดาษ โดยให้ทำการลอกกระดาษไปพร้อมกับขยับเตารีดออก (ตามภาพ)

มาถึงตรงนี้เราก็จะเสร็จสิ้นการถ่ายโอนภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ลงบนแผ่นไม้เรียบร้อยค่ะ โดยจะได้แผ่นไม้ที่มีลวดลายที่เป็นภาพสวยงาม แต่ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการจะพิมพ์ภาพลงบนแผ่นไม้อันใหญ่ เพื่อนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตาม ความต้องการของเค้า แต่เราจะเห็นว่าภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ที่พิมพ์มาจากปริ้นเตอร์อาจเป็นเเค่เพียง A4 จึงทำให้ภาพใหญ่ไป และไม่พอดีกับขนาดแผ่นไม้ ซึ่งวิธีการก็คือ เราแค่ปริ้นภาพใส่กระดาษอีกครั้ง และนำมารีดต่อ ๆ กันจนเต็มแผ่นไม้ ตามต้องการ จากนั้นจะเอาไม้ไปตัดเพื่อทำสิ่งของใด ๆ ก็สามารถทำได้

หวังว่าผู้อ่านคงจะได้ไอเดียดี ๆ กันไปไม่มากก็น้อยนะค่ะ แล้วพบกันใหม่กับบทความดี ๆ DIY กับกระดาษทรานเฟอร์ จ้า 🙂

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
30/01/2014

เคล็ดลับและข้อควรระวังของสติ๊กเกอร์รอยสักกระดาษทรานเฟอร์

เคล็ดลับและข้อควรระวัง

กระดาษทรานเฟอร์

1. ขณะที่ดึงกระดาษทรานเฟอร์ออกจากผิวหนัง ให้ลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการฉีกขาดและ ป้องกันภาพหรือลวดลายไม่แนบสนิทบนผิวหนังของคุณ
2. บางครั้งผู้ปกครองของคุณอาจไม่ชอบใจนักกับรอยสักปลอมนี้ ระวังอย่าให้มันติดบนผิวหนังของคุณนานเกินไป เอาไว้ทำในโอกาสที่เหมาะสม หรืออยากสนุกเเค่ในบางเวลา
3. หากคุณไม่ต้องการออกแบบรอยสักของคุณเองบนกระดาษทรานเฟอร์ คุณสามารถซื้อชุดรอยสักหมึกเจลสำเร็จรูปได้ แต่โดยทั่วไป การออกแบบเองจะถูกใจเด็กวัยรุ่นมากกว่า เพราะมีเอกลักษณ์และไม่เหมือนใคร
4. หลังจากลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกแล้วและรอจนแห้ง หากนำเจลสำหรับทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนังมาเคลือบรอยสักบน ผิวหนัง จะช่วยให้รอยสักติดแน่นทนนานยิ่งขึ้น
5. ในการออกแบบลวดลายบนกระดาษทรานเฟอร์ ให้คำนึงเสมอในเรื่องของการสลับด้านของรูปภาพ เพราะเมื่อมันถูกลอกลายประทับไว้บนร่างกายแล้ว ภาพที่ได้จะกลับด้านกันกับตอนที่มันถูกวาดไว้บนกระดาษ ซึ่งตอนออกแบบ คุณอาจจะนำ ภาพที่ออกแบบเสร็จเเล้วมาส่องหน้ากระจก เพราะพิจารณาภาพที่กลับด้าน เป็นต้น
6. หากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้มีรอยสัก ให้พยายามเลือกที่แปะบนร่างกายคุณในส่วนที่มองเห็นได้ยาก
7. หากลวดลายที่คุณวาดเป็นข้อความ หรือตัวหนังสือ คุณควรร่างมันด้วยดินสอเสียการที่ด้านหลังของกระดาษทรานเฟอร์ แล้วจึงกลับด้านมันและลงด้วยปากกาหมึกเจลสีเข้ม
8. ใช้แอลกอฮอล์ลบในส่วนที่เกิดความผิดพลาดในการออกแบบบนกระดาษทรานเฟอร์
9. คุณสามารถใช้สเปรย์ฉีดผมฉีดลงบนรอยสักเพื่อป้องกันการเจือจางจากการการถูกน้ำได้ เช่น เวลาอาบน้ำ แต่ห้ามใช้ยาทาเล็บ เพราะจากการศึกษาล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่ายาทาเล็บอาจจะปล่อยสารเคมีที่เป็นมะเร็งเข้าสู่ผิวได้ถ้านำมาใช้โดยตรง กับผิวหนัง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้เทปในการรักษาความปลอดภัยในระหว่างการอาบน้ำ (ยกเว้นเทปกาว)
10. หมึกเจลล้างบนร่างกายสามารถล้างออกได้ง่ายด้วยน้ำและสบู่ 
11. หากน้ำหมึกโดนเสื้อผ้า ให้รีบเช็ดหรือล้างออกทันที
12. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำที่คุณใช้ไม่ร้อนจนเกินไป หมึกเจลส่วนใหญ่จะปลอดสารพิษที่มีเม็ดสีที่เกิดในน้ำมากกว่าตัวทำละลายที่พบในหมึกปากกาอื่น ๆ

*** ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.wikihow.com/Create-Your-Own-Temporary-Tattoo ที่ทำให้เราได้รับรู้ประโยชน์อีกอย่างของกระดาษทรานเฟอร์ และรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://shop-ululu.com/index.php/shop/sticker- tattoo-watch-late/sticker-tattoo-watch-graphic-01-1/ ที่แบ่งปันรูปสติ๊กเกอร์รอยสักลายนาฬิกาข้อมือ น่ารักมาก ๆ ค่ะ 🙂

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
27/01/2014

DIY Sticker Tattoo – วิธีการทำสติ๊กเกอร์รอยสักด้วยกระดาษทรานเฟอร์

จากบทความ กระดาษทรานเฟอร์ กับ รอยสัก ที่ทำให้ผู้อ่านรู้จักคุณประโยชนน์ดี ๆ ที่น่าทึ่งอีกอย่างถึงของเจ้ากระดาษทรานเฟอร์(หรือภาษาแบบทั่วไปเรียกกันว่า “กระดาษสกรีนเสื้อ“) กันไปบางส่วนแล้วนะคะ สำหรับบทความนี้ Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอวิธีการทำสติ๊กเกอร์ Tattoo จากกระดาษทรานเฟอร์ และที่สำคัญ คือสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง!!! เพราะสามารถใช้ปากกาหมึกเจลแทนหมึกซับลิเมชั่น โดยทำตามขั้นตอนวิธีการต่อไปนี้ (ขอขอบคุณบทความดี ๆ ต้นฉบับที่นำมาแปล จากเว็บไซต์ http://www.wikihow.com/Create-Your-Own-Temporary-Tattoo ด้วยค่า)

1. เริ่มแรกเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– กระดาษทรานเฟอร์
– ดินสอ และปากกาเจล หรือปากกาหมึกซึม (แนะนำให้ใช้ยี่ Fiskars สีดำหรือสีเข้ม ๆ จะดีที่สุด)
– ผ้านุ่ม ๆ 1 ผืน

2. ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นในการออกแบบรอยสักลองจินตนาการถึงการออกแบบที่คุณต้องการ เพราะรอยสักจะติดอยู่บนผิวของคุณ และเพื่อให้แน่ใจว่าการออกแบบของคุณเป็นลวดลายที่คุณต้องการจริงๆ หรือลองค้นหาคำว่า “การออกแบบรอยสัก” ในเครื่องมือค้นหาที่คุณชื่นชอบ เช่น Google.com เพื่อสร้างแนวความคิดและไอเดียในการออกแบบภาพหรือลวดลายต่าง ๆ

3. ใช้ดินสอร่างแบบลวดลายที่คุณชอบจนแน่ใจ จากนั้นใช้ปากกาเจลสีดำในการลงลวดลายและเน้นหนักลายเส้น เนื่องจากปากกาแบบเจลนั้น หมึกจะไหลและซึมลงบนกระดาษทรานเฟอร์ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องพิมพ์ใด ๆ หรือหมึกซับลิเมชั่นเลยค่ะ

4. ก่อนจะทำการลอกลายรอยสักที่ออกแบบไว้บนกระดาษทรานเฟอร์ ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของร่างกายที่ต้องการนำลวดลายรอยสักที่ ออกแบบไปติด เช่น ส่วนเว้า ส่วนโค้งตามสรีระต่าง ๆ ของร่างกาย มิเช่นนั้น อาจทำให้เกิดการลอกลายที่ไม่แนบสนิทเกิดขึ้นได้

5. นำผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นเเล้วบิดให้เปียกหมาด ๆ

6. วางกระดาษทรานเฟอร์ที่ออกแบบลวดลายไว้เเล้วในลักษณะคว่ำลงบนร่างกาย โดยให้ลวดลายนั้นอยู่ในจุดที่แน่นอนที่คุณต้องการให้ เกิดรอยสัก จากนั้นนำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ กดลงบนกระดาษทรานเฟอร์ประมาณ 30 วินาที

7. หลังจากนั้นค่อย ๆ ลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกจากร่างกาย โดยเริ่มทำการลอกจากมุมใดมุมหนึ่งก่อน เเละสังเกตว่ารอยสักที่ออกแบบไว้ จะติดลงบนร่างกายของคุณเเล้ว หากพบว่ารอยสักนั้นยังไม่่ติดลงบนร่างกาย ให้คุณน้ำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ กด ลงบนกระดาษทรานเฟอร์อีกครั้ง

8. เมื่อลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกหมดแล้ว ให้รอสักพักเพื่อให้ร่างกายส่วนที่มีรอยสักนั้นแห้งเสียก่อน โดยห้ามใช้ผ้าหรือแปรงมาเช็ด

9. รอยสักใหม่ที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ได้ติดอยู่กับร่างกายคุณนานมากนัก แต่มันจะดูดีนานพอที่จะไปงานปาร์ตี้ หรือเข้าชุดกับเครื่องแต่งกายของคุณสำหรับโอกาสพิเศษต่าง ๆ

ลองทำตามกันดูได้นะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ รอยสักเก๋ ๆ เพื่องานพิเศษโอกาสต่าง ๆ แต่อย่าทำบ่อยเกินไปนะค่ะ เพราะว่าเจลหมึกของปากกาไม่ส่งผลดีต่อผิวหนังของคนเราค่ะ และสำหรับตอนต่อไปของบทความ ยังคงอยู่กับการทำสติ กเกอร์รอยสักด้วยกระดาษทรานเฟอร์เช่นเคย แต่จะเป็นนำเสนอหัวข้อที่เป็นเคล็ดลับและข้อควรระวังที่จะต้องทราบกันค่ะ พลาดไม่ได้ เลยทีเดียว อย่าลืมติดตามนะค่ะ

ถ้ายังไงคุณผู้อ่านสนใจสั่งซื้อกระดาษทรานเฟอร์หรือกระดาษสกรีนเสื้อ สามารถติดต่อได้ทันทีที่เบอร์โทร 08-7799-6229 ยินดีให้คำปรึกษาเเละบริการค่า

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
18/01/2014

Do It by Yourself ด้วย กระดาษทรานเฟอร์

Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอสาระดี ๆ เกี่ยวกับกระดาษทรานเฟอร์อีกเช่นเคยค่ะ สำหรับบทความนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่การทำลายสกรีนเสื้อยืด ด้วยตัวคุณเอง เพียงแค่มีพระเอกของเรา นั้นคือเจ้ากระดาษทรานเฟอร์นั้นเอง และเตรียมลวดลายที่สวยงามตามความต้องการของคุณเพียงเท่านั้น คุณก็จะมีเสื้อยืดหรือชุดใด ๆ ที่มีลวดลายเป็นของคุณเอง เท่ไม่เหมือนใครเลยละค่ะ วันนี้เรา จึงนำวีดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ที่เจ้าของวีดีโอเค้าทำไว้ดีเเละเข้าใจง่ายมาก ๆ เป็น Step by Step สำหรับการนำกระดาษทรานเฟอร์มาใช้ในงานสกรีน ค่ะ

สำหรับวีดีโอแรกนี้ค่ะ จะเป็นการนำเอาลายที่ออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยเครื่องปริ้นเตอร์แบบอิงค์เจ็ท มาสกรีนบนพื้นผิวผ้า สวยและง่ายมาก ๆ เลยล่ะคะ ซึ่งผู้อ่านก็สามารถทำตามได้ เพียงเเค่เตรียม

1) เตารีด

2) กระดาษทรานเฟอร์ 

3) ลวดลายของคุณที่สร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์

4) เครื่องปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ท

5) กระดาษไข และ

6) กางเกงหรือเสื้อยืด

จากนั้น ในตอนสุดท้ายจะได้ออกมาเป็นกางเกงยีนส์ขาสั้นลายธงชาติ และเสื้อยืดลายไดโนเสาร์น่ารัก ๆ เเจ๋วมาก ๆ เราลองมาดูกันเลยค่าาา

Diy American Flag Shorts (Inkjet Transfer Paper)

How To Use T Shirt Transfer Paper Step By Step

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
15/01/2014

การสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม

การใช้กระดาษทรานเฟอร์สกรีนภาพลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงผ้า หรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถสกรีนได้นั้น ความสำคัญของวิธีการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์นี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดาษ และสามารถใช้กับปริ้นเตอร์หมึกปกติ (Dye Ink) ทั่วไปที่ใช้พิมพ์กระดาษปกติ หรือหากใช้กับปริ้นเตอร์หมึกกันน้ำ (Durabrite Ink & Pigment Ink) ก็จะช่วย ให้หมึกติดบนกระดาษทรานเฟอร์นานยิ่งขึ้น เพราะหมึกดังกล่าวมีคุณสมบัติทนน้ำและแดด แต่อย่างไรก็ตามการใช้กระดาษทรานเฟอร์มีข้อจำกัดในเรื่องของความคมชัดของภาพหลังจากถูกสกรีนลงบนพื้นผิวเหล่านั้นเเล้ว ทั้งนี้อันเนื่องมาจากคุณสมบัติของหมึกที่ใช้ใน การพิมพ์นั้นมีความโปร่งแสง และเพื่อให้ภาพหรือสีที่พิมพ์ออกมามีความคมชัด จึงจำเป็นต้องพิมพ์ลงบนวัสดุที่มีสีขาว ซึ่งในทางกลับกันหากพิมพ์ภาพลงบนพื้นผิวที่มีสีเข้ม ตัวอย่างเช่น พิมพ์สีน้ำเงินเข้มลงบนผ้าสีเหลืองอ่อน สีน้ำเงินจะยังคงให้ สีที่ถูกต้องและคมชัดมากกว่าการพิมพ์หมึกสีน้ำเงินเข้มลงบนผ้าสีน้ำตาลหรือสีดำ เป็นต้น ดังนั้นการสกรีนภาพด้วยกระดาษทราน เฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกับการการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีอ่อน คือ กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีอ่อนจะมีพื้นหลังเป็นสีใส แต่กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มจะมีพื้นหลังเป็นสีขาว ซึ่งจะ ช่วยให้เวลาติดลงบนผ้าสีเข้มแล้ว จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของภาพได้

กระดาษทรานเฟอร์

สำหรับวิธีการการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มนั้น จะแตกต่างกับสีอ่อนเพียงเล็กน้อย นั้นคือ ลักษณะการใช้งานกระดาษทรานเฟอร์สีเข้มจะพิมพ์ภาพลงด้านเดียวกับต้นฉบับ ต่างกับกระดาษทรานเฟอร์สีอ่อน ที่ต้องพิมพ์แบบภาพในลักษณะกลับด้านในลักษณะสะท้อนกระจกเงา และหลังจากพิมพ์ภาพหรือลวดลายจากเครื่องพิมพ์ลงบน กระดาษแล้ว ก่อนนำไปเข้าเครื่องกดความร้อนจะต้องทำการลอกชั้นฟิลม์แผ่นบนที่ถูกพิมพ์เป็นลวดลายออกจากกระดาษรองแผ่นล่างเสียก่อน โดยชั้นฟิลม์แผ่นบนจะมีลักษณะคล้ายแผ่นยางบาง ๆ และขณะที่ลอกต้องระวังไม่ให้แผ่นยางขาดออก จากกัน จากนั้นเมื่อลอกออกแล้วให้นำไปเข้าเครื่องกดความร้อน โดยให้ลวดลายหงายขึ้นด้านบน และควรวางซ้อนแผ่นซิลิโคนทับอีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นฟิลมพ์ถูกหน้าสัมผัสของเครื่องกดความร้อนโดยตรง ซึ่งผลการสกรีนที่ได้ออกมาจะ ลักษณะเป็นผิวยางที่ค่อนข้างหนาและมีน้ำหนักกว่างานฮีตทรานเฟอร์บนผ้าสีอ่อน

ขอขอบคุณบทความบางส่วนจากเว็บไซต์

http://กระดาษทรานเฟอร์.com/article/กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม, http://www.ink-spa.com/ink-spa/index.php?option=com_content&view=article&id=154&Itemid=131

และรูปสวย ๆ จาก http://blog.umamidesign.com/category/playing/page/2/

มา ณ ที่นี้ด้วยค่า

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
26/12/2013

การสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน สำหรับงานซับลิเมชั่นและกระดาษทรานเฟอร์

วันนี้ BestSublimationThai.com ขอนำเสนอบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน ซึ่งเป็นการนำกระดาษทรานเฟอร์มา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับผู้อ่านที่สนใจอยากทำธุรกิจเสื้อยืด รับจ้างสกรีน หรืออยากทำเสื้อยืดสกรีนลายที่ออกแบบเองไว้ใส่คนเดียวก็สามารถทำได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ http://board.postjung.com/635210.html ขอขอบคุณสำหรับสาระดี ๆ 🙂
1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อไปนี้

  • บล็อกสกรีนเสื้อเปล่า
  • ต้นแบบลาย อาจมาจากการออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือภาพวาดต่าง ๆ
  • สติ๊กเกอร์
  • Art Knife
  • ลูกกลิ้งยาง
  • กระดาษกาว
  • เทปหนังไก่
  • แผ่นรองตัด

2. เอาต้นแบบลายมาตัดเป็นสติ๊กเกอร์ จากนั้นเอาไปติดกับสติ๊กเกอร์ แล้วจึงตัดตามแบบ

3. เมื่อตัดเสร็จแล้วก็จะได้ สติ๊กเกอร์ออกมา 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นลวดลาย (ส่วนที่ตัด) และส่วนที่เป็นกรอบ (ส่วนที่เหลือ)

4. นำส่วนที่เป็นกรอบมาติดลงบนบล็อกสกรีน

5. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อไปนี้

  • ที่ปาดสี ใช้กระดาษลังตัดแล้วกระกบซ้อนกัน 2 ชั้น (ยางปาดสีที่เค้าใช้ในงานสกรีนจริงๆ ไซส์ เท่ากับกระดาษลังตัวนี้ ราคาประมาณอยู่ที่ 500+)
  • สีสกรีน
  • น้ำยาผสมสี
  • ถ้วยผสมสีสกรีน

2. ขั้นตอนการสกรีน

  1. เตรียมที่ปาด (สีแดงในรูป) และบล็อกลายสกรีนที่เตรียมไว้แล้วให้พร้อม
  2. ผสมสีในชามผสมแล้วเตรียมการเกลี่ยสี (โดยใช้ที่ปาด)
  3. เกลี่ย สีลงในบล็อกให้สม่ำเสมอโดยสังเกตุจากการที่สีลงไปอยู่บนเนื้อผ้าสกรีนเต็ม ทุกส่วน (ขั้นตอนนี้เราจะยังไม่ยุ่งเกี่ยวกับเสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน)
  4. เมื่อ เราเกลี่ยสีได้สม่ำเสมอแล้ว ให้นำบล็อกลงไปวางทาบที่เสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน (ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสามารถวางได้ครั้งเดียว เนื่องจากสีที่เราปาดรอบแรกเพื่อเกลี่ยสีนั้น ส่วนหนึ่งได้ซึมผ่านบล็อกไปแล้ว)

3. ทำการปาดสี โดยปาดเข้าหาตัวและปาดไปในทิศทางเดียวกันซ้ำอีก 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องเพิ่มสีอีก
4. เอาไดร์เป่าผมเป่าลมร้อนที่ลายสกรีนประมาณ 5 นาที แล้วนำเสื้อไปผึ่งลมทิ้งไว้ จนกว่าสีจะแห้ง เป็นอันเสร็จ

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
23/12/2013

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers)

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers) หรือเรียกว่าการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ (Heat Transfer) คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วในกระดาษทรานเฟอร์นั้น จะมีสารเคมีและแว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนภาพในการพิมพ์ลงไปบนพื้นผิวเสื้อโดยการใช้ความร้อน ซึ่งมักจะพบในการสกรีนเสื้อยืด การสกรีนหมายเลขผู้เล่นของชุดกีฬา เป็นต้น ซึ่งกระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดลอก หรือรูปมีการแตกออกจากกัน ซึ่งแตกต่างกับการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น การพิมพ์แบบซับลิเมชั่นจะใช้ความร้อน ในความดัน อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เพื่อให้หมึกระเหิดไปติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ แต่ในแง่เชิงพาณิชย์ กระบวนการถ่ายโอนความร้อนยังเป็นวิธีที่นิยมในธุรกิจขนาดเล็ก เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า และมีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย อีกทั้งยังสามารถสร้างลวดลายได้ตามใจชอบ และสามารถทำได้บนผ้าฝ้ายแบบ 100% อีกด้วย
ปัจจุบันมีเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เป็นจำนวนหลายแบรนด์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถสนับสนุนงานในกระบวนการถ่ายโอนความร้อนได้ เช่น แอปเปิ้ล, HP, ซีร็อกซ์, แคนนอน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Iron-on

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น