27/06/2014

การออกแบบลวดลายบนแก้วกาแฟด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากการระเหิดของหมึกซับลิเมชั่น

สวัสดีเพื่อน ๆ ค่า วันนี้ bestsublimationthai.com จะขอนำเสนอเทคนิคงานซับลิเมชั่นดี ๆ เช่นเคยค่ะ สำหรับวันนี้จะเป็นการทำซับลิเมชั่นลงบนแก้วกาแฟ ซึ่งการทำงานซับลิเมชั่นลงบนเเก้วจะต้องใช้ความชำนาญเเละเครื่องมือเยอะกว่าการทำบนวัสดุพวกผ้าหรือเสื้อยืด แต่รับรองว่าสวยไม่เเพ้กัน ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ คุณภาพของหมึกซับลิเมชั่นที่ใช้ด้วยค่า รวมถึงเครื่องรีดร้อนที่ใช้และไม่ยาก และเครื่องรีดร้อนจะต้องเป็นประเภทที่รองรับการทำซับลิเมชั่นบนเเก้วด้วย แต่ในวันนี้ บทความของเราจะเป็นการแนะนำการออกแบบลวดลาย การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกเเบบ รวมถึงการตั้งค่าต่าง ๆ ในโปรแกรม เพื่อให้ ภาพที่เราจะนำไปสกรีนลงบนแก้ว มีความสวยงาม มีขนาดที่พอเหมาะกันพอดีกับตัวเเก้ว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ นะคะ เพราะไม่ว่าคุณจะใช้หมึกซับลิเมชั่นที่คุณภาพดีเเค่ไหนปริ้นภาพลงบนกระดาษ จากเครื่องปริ้นเตอร์ก็ตาม หากไม่ตั้งค่าในโปรแกรมการออกเเบบให้ดี ก็อาจจะสิ้นเปลืองทั้งกระดาษ หมึกซับลิเมชั่น และเสียเวลาอีกด้วยค่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณบทความดี ๆ มีสาระจากเว็บไซต์ http://www.sawgrasseurope.com/education-events/sublimation-knowledge-base/tips-tricks/how-to-create-latte-mug-template

สำหรับโปรแกรมที่จะใช้ออกแบบในบทความนี้ก็จะเป็น Photoshop และแก้วที่ใช้เป็นตัวอย่างในบทความจะเป็นแก้วกาแฟลาเต้ ซึ่งหากใช้เเก้วขนาดอื่นๆ อาจจะต้องลองเทียบอัตราส่วนเอาเองจากตัวอย่างนะค่ะ

1. วัดความสูงและเส้นรอบวงของปลายด้านล่างของแก้ว อย่าลืมเว้นที่จากช่องว่าง (ประมาณ 1-1.5 ซม. ) ที่ด้านข้างของที่จับแก้วและช่องว่างประมาณ 2-3 มม. ที่ด้านบนและด้านล่างของแก้วแต่ละใบ ในตัวอย่างที่เรามีการวัดความสูงของ 9.5cm 17cm และเส้นรอบวงของด้านล่างของแก้วตามรูปประกอบค่า

2. ใน Photoshop สร้างเอกสารใหม่ และตั้งค่ากว้าง 17cm ความสูง 9.5 ซม. , ความละเอียด 300dpi, โหมดสี RGB และพื้นหลังโปร่งใส

หมึกซับลิเมชั่น

3. เติมสีใน Layer ชั้นแรกของเอกสารที่มีสีใด ๆ โดยใช้เครื่องมือถังสี (Paint Bucket Too)

4. Unlock Layer ชั้นแรก ด้วยการดับเบิลคลิกที่ชั้นพื้นหลัง และเลือก Yes

หมึกซับลิเมชั่น

5. เพิ่ม Canvas Size และกำหนดค่า Height 30cm, Width 20cm

หมึกซับลิเมชั่น

6. การออกแบบแก้วลาเต้ควรจะบิดเบี้ยวเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับรูปร่างของกรวยแก้ว จึงต้องสร้าง Smart Object ขึ้นเพื่อนำไปใช้ โดยการคลิกขวาที่ Layer และเลือก Convert to Smart Object ตามภาพ

หมึกซับลิเมชั่น

7. จากนั้นเราจะทำการสร้างส่วนเว้าโค้งให้กับเอกสารของเรา โดยการคลิกที่ Layer ของเราและกด Ctrl + T แล้วที่ Menu bar เลือก Edit > Transform > Warp

หมึกซับลิเมชั่น

8. เลือกส่วนของ Warp เลือก Arc เเละระบุค่าเป็น 26% ในส่วนของ Bend จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกเพื่อยอมรับการแก้ไข ตามภาพ

หมึกซับลิเมชั่น

9. กำหนด Stroke ให้เท่ากับ 1 px ซึ่งตอนนี้เราจะมีหน้าว่าง ๆ ที่สามารถนำมาหุ่มล้อมรอบตัวแก้วได้ขนาดพอดีกัน ซึ่ง ณ จุดนี้เราสามารถปริ้นหน้าเปล่า ๆ นี้ออกมาลองหุ้มรอบตัวแก้ของเราก่อนได้ว่ามีขนาดพอดีหรือไม่ ก่อนที่จะทำการสร้างลวดลาย

10. หากพบว่าขนาดพอดีเเล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Layer icon (คนละส่วนกับ Layer name) เพื่อเปิดส่วนของ Smart Object ที่สร้างไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า

11. ในส่วนของการจัดการกับ Smart Object จะเปิดขึ้นมาใน Tab ใหม่ ซึ่งเราสามารถออกแบบสร้างลวดลายได้เลยในส่วนนี้ หรือจะนำ template รูปแบบต่าง ๆ ที่มีในโปรแกรมมาใส่เลยก็ได้ ตามภาพตัวอย่าง จากนั้นบันทึก Smart Object เเละปิด Tab นี้ได้เลย

หมึกซับลิเมชั่น

12. จะเห็นว่าหลังจากบันทึกและปิด Tab Smart Object แล้ว ลวดลายของ Smart Object จะถูกสร้างทับลงบนเอกสารเปล่า ๆ ที่เราสร้างไว้ หากปริ้นออกมาและนำไปทำซับลิเมชั่นตามกระบวนการ ก็จะสามารถสร้างลวดลายลงบนแก้วกาแฟนี้ได้อย่างสวยงาม ที่ได้จากการระเหิดของหมึกซับลิเมชั่นลงบนวัสดุนั้นเอง

หมึกซับลิเมชั่น
หมึกซับลิเมชั่น

สำหรับบทความต่อไป ก็จะยังคงอยู่กับการทำซับลิเมชั่นลงบนแก้วอีกเช่นเดิม ครั้งหน้าเราจะเอา template ที่เป็นของฟรี ๆ มาให้ดาวน์โหลดไปลองใช้กันค่า รอติดตามน่ะคะ

หมึกซับลิเมชั่น
10/02/2014

กระดาษทรานเฟอร์ VS กระดาษซับลิเมชั่น

กระดาษทรานเฟอร์

สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรักค่ะ อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลแห่งความรักกันเเล้วนะคะ สำหรับเนื้อหาสาระดี ๆ ในวันนี้ Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้ที่น่าสนใจอีกอย่างนึงที่ควรรู้เกียวกับกระดาษทรานเฟอร์คะ ซึ่งบทความนี้ขอ ขัดการนำเสนอเนื้อหาในสไตล์ DIY กันสักหน่อยนะคะ ^^” เนื่องจากว่าหลายท่านมีความสงสัย และสับสันระหว่างกระดาษทรานเฟอร์ และกระดาษซับลิเมชั่นว่าทั้ง 2 ชนิดนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันคะ

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่ากระดาษทรานเฟอร์ และกระดาษซับลิเมชั่นต่างกันนะค่ะ ถึงแม้จะเป็นกระดาษที่ใช้ในงานประเภทเดียว กันคืองานสกรีน แต่ทั้ง 2 อย่างมีกระบวนการการสกรีนที่ต่างกัน โดยกระบวนการการสกรีนของกระดาษทรานเฟอร์จะเรียกว่า การทำฮีตท์ทรานเฟอร์ ส่วนกระบวนการของกระดาษซับลิเมชั่นจะเรียกว่า การทำซับลิเมชั่น

การทำซับลิเมชั่น: การทำซับลิเมชั่นจะเป็นการสกรีนที่ใช้ความร้อน ในความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อทำให้หมึกเกิดการระเหิด และติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า เปรียบสเหมือนการสักลงบนผิวหนัง หากใช้มือลูบจะไม่พบรอยนูนของลายสกรีนเลย เพราะลายสกรีนและสี ของลวดลายได้ถูกระเหิดและติดยึดแน่นเเทรกซึมเข้าไปในเส้นใยของผ้าเรียบร้อยเเล้ว ซึ่งทำให้ลวดลายสกรีนดังกล่าวมีความหนาแน่น คงทน และไม่มีการหลุดลอก แม้ว่าจะผ่านการซักหลาย ๆ ครั้งแล้วก็ตาม และยังสามารถสร้างลวดลายต่าง ๆ ลงบนวัสดุอื่น ๆ เช่น แก้ว, แผ่นรองเมาส์, กระเบื้อง, จานรองแก้ว, แก้ว ฯลฯ แต่พบว่าการทำซับลิเมชั่นถึงแม้ตัวกระดาษซับลิเมชั่นจะมีราคาถูกกว่ากระดาษทรานเฟอร์ แต่จำเป็นต้อง ลงทุนในการซื้อหมึกซับลิเมชั่นและเครื่องกดความร้อนที่ต้องใช้เเรงดันในการทำให้หมึกระเหิด ทั้งยังไม่สามารถสกรีนลงบนผ้า Contton 100% ได้

การทำฮีตท์ทรานเฟอร์: เป็นการการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งในกระดาษทรานเฟอร์จะมีสารเคมีและแว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนลง บนผืนผ้าได้โดยใช้ความร้อน ซึ่งความร้อนจากเตารีดก็สามารถทำได้ แต่กระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดลอก ความสามารถติดทนของสติ๊กเกอร์ก็อาจหลุดได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น กระ ดาษทรานเฟอร์มีราคาที่สูงกว่ากระดาษซับลิเมชั่นเล็กน้อย แต่สามารถทำการสกรีนเองได้โดยใช้ต้นทุนที่ไม่สูงมาก จะเห็นว่าจากบทความที่ Bestsublimationthai.com ได้นำเสนอไปหลาย ๆ บทความที่เกี่ยวกับ DIY by กระดาษทรานเฟอร์ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า คนทั่วไปก็ สามารถทำการสกรีนเองได้ เพียงเเค่มีเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทหรือเลเซอร์ และใช้เตารีดในการรีดลายลงเสื้อ เเละสามารถสกรีนได้ทั้งเสื้อสีอ่อนหรือเข้มก็ได้ เเต่ต้องใช้กระดาษทรานเฟอร์คนละประเภทกัน

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการทำซับลิเมชั่นกับการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ ก็จะคล้ายกับการสักกับการติดรูปลอก แต่อย่างไรก็ตามกระดาษทั้ง 2 ชนิดจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานสกรีน หรือให้เกิดความเหมาะสมต่อการลงทุนในธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่นำ กระดาษเหล่านี้ไปใช้ ซึ่งหากท่านผู้อ่านที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำซับลิเมชั่น Bestsublimationthai.com เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของซับลิเมชั่นไว้แล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะไรคือ ซับลิเมชั่น ? หรือ สิ่งจำเป็นในการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น เลยค่ะ และบทความต่อไป…แน่นอนค่ะ เป็นบทความดี ๆ ที่เกี่ยวกับ DIY อีกเเน่นอน รอติดตามนะค่าาาา

ขอบคุณรูปภาพตัวอย่างจากเว็บไซต์ http://www.signdepot.eu และ http://image.made-in-china.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
03/02/2014

D.I.Y. กระดาษทรานเฟอร์กับการถ่ายโอนความร้อนลงวัสดุที่ไม่ใช่ผ้า

สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์จ้า สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านและผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษทรานเฟอร์ค่า สำหรับวันนี้ Bestsublimationthai.com มีบทความดี ๆ มานำเสนออีกเช่นเคย และยังคงความเป็น DIY by Transfer Paper อีกเหมือนเดิมค่ะ แต่ว่า… DIY คราวนี้จะแตกต่างจากที่นำเสนอเล็กน้อย!!?? นั้นคือ…จากที่เราทราบกันมาบ้างเเล้วว่ากระดาษทรานเฟอร์ สามารถนำไปใช้พิมพ์ภาพลงบนตัวกระดาษ แล้วนำไปถ่ายโอนความร้อนลงบนผ้า เพื่อใช้ในงานสกรีน

แต่บทความนี้ เราจะนำกระดาษทรานเฟอร์ที่ถูกพิมพ์ภาพลงบนกระดาษเเล้วไปถ่ายโอนความร้อนลงบนวัสดุที่มีพื้นผิว เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ผ้า! นั่นคือ ไม้ ซึ่งหากคุณอ่านบทความนี้เเล้ว คุณสามารถนำไปลองทำดูเพื่อสร้างสรรค์งานไม้ที่มีคุณค่า หรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยตัวเอง เเละยังมีลวดลายน่ารัก ๆ ตามความต้องการของเรา ต้องขอขอบ คุณข้อมูลขั้นตอนวิธีที่มีประโยชน์ และเป็นอีกงานที่น่าสนใจมาก ๆ จากเว็บไซต์ http://www.toolgirl.com/toolgirl/2010/08/transfering-images-to-wood-using-your-inkjet-printer.html ซึ่งเจ้าของบทความได้ลองลงมือทำ และรีวีวไว้ว่า เค้าได้ลอง ทำลวดลายบนจานรองแก้วจากไม้อัด ซึ่งมีลวดลายที่เกิดจากการนำภาพดิจิตอลและถ่ายโอนความร้อนไปยังไม้อัด หรืออาจใช้ไม้เนื้อแข็งในงานอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งเค้าได้ทำแผ่นรองเมาส์, โต๊ะทำงาน, กระเบื้องไม้บุผนัง และยังมีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อื่น ๆ อีกที่ยังไม่ทำเสร็จ ซึ่งเค้าบอกว่าเป็นงานที่สนุก ทำได้ง่ายและราคาถูก (สุดยอดดดด)

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ สำหรับขั้นตอนวิธีต่าง ๆ ก็มีไม่มาก เข้าใจได้ง่าย ตามต่อไปนี้เลยค่ะ


1. ขั้นตอนเเรกเป็นอะไรที่เราคุ้นเคยกันดี แน่นอนอยู่เเล้วค่ะ นั้นคือการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ โดยใช้เครื่องปริ้นเตอร์ แบบอิงค์เจ็ท ปริ้นภาพสวย ๆ ที่ออกแบบจากโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ และเเน่นอนต้องอย่าลืมกลับภาพในโหมด Mirror Image เพื่อให้เวลาที่ถ่ายโอนภาพลงบนพื้นผิววัสดุหรือในที่นี้คือ ไม้ จะได้ไม่กลับด้านจากซ้าย เป็นขวา และอย่าลืมตัดขอบสีขาวรอบภาพที่ไม่เกี่ยวข้องออก

2. ตัดไม้อัด แบบแผ่นขนาดประมาณ 2×2 ซึ่งคุณสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป (แนะนำให้ใช้ไม้อัดแบบ Baltic Birch และบ้านเราสามารถหาซื้อได้ตาม Homepro หรือ The Depot ทั่วไปค่ะ)

3. ขัดผิวไม้ด้วยกระดาษทราย เพื่อให้พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ จะส่งผลดีเวลาที่ทำการถ่ายโอนความร้อน โดยการใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ขัดก่อนในครั้งแรกจนพื้นผิวค่อนข้างเรียบเสมอกัน จากนั้นขยับขึ้นเป็นเบอร์ 180 – 220 เพื่อใช้ในการเก็บงาน

4. ขั้นตอนนี้จะเป็นการถ่ายโอนความร้อน โดยเตารีดที่ใช้ต้องแห้งและไม่ใช่เตารีดไอน้ำ โดยคุณต้องกดเตารีดลงบนกระดาษทรานเฟอร์ที่คว่ำภาพลงบนแผ่นไม้ ทำการรีดให้ทั่วทั้งแผ่น ใช้แรงกดที่สม่ำเสมอ(สำคัญ) เป็นเวลาประมาณ 2 นาที จาก นั้นลองทดสอบว่าภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ ได้ถูกถ่ายโอนลงบนแผ่นไม้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการตรวจสอบมุมของภาพว่าถูกติดลงบน แผ่นไม้แล้วหรือยัง จากนั้นจึงค่อย ๆ ลอกกระดาษส่วนที่เหลืออกอย่างช้าเพื่อตรวจสอบภาพในจุดอื่น ๆ ซึ่งในขณะนี้เตารีดยังคงกดอยู่บนกระดาษ โดยให้ทำการลอกกระดาษไปพร้อมกับขยับเตารีดออก (ตามภาพ)

มาถึงตรงนี้เราก็จะเสร็จสิ้นการถ่ายโอนภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ลงบนแผ่นไม้เรียบร้อยค่ะ โดยจะได้แผ่นไม้ที่มีลวดลายที่เป็นภาพสวยงาม แต่ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการจะพิมพ์ภาพลงบนแผ่นไม้อันใหญ่ เพื่อนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตาม ความต้องการของเค้า แต่เราจะเห็นว่าภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ที่พิมพ์มาจากปริ้นเตอร์อาจเป็นเเค่เพียง A4 จึงทำให้ภาพใหญ่ไป และไม่พอดีกับขนาดแผ่นไม้ ซึ่งวิธีการก็คือ เราแค่ปริ้นภาพใส่กระดาษอีกครั้ง และนำมารีดต่อ ๆ กันจนเต็มแผ่นไม้ ตามต้องการ จากนั้นจะเอาไม้ไปตัดเพื่อทำสิ่งของใด ๆ ก็สามารถทำได้

หวังว่าผู้อ่านคงจะได้ไอเดียดี ๆ กันไปไม่มากก็น้อยนะค่ะ แล้วพบกันใหม่กับบทความดี ๆ DIY กับกระดาษทรานเฟอร์ จ้า 🙂

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
30/01/2014

เคล็ดลับและข้อควรระวังของสติ๊กเกอร์รอยสักกระดาษทรานเฟอร์

เคล็ดลับและข้อควรระวัง

กระดาษทรานเฟอร์

1. ขณะที่ดึงกระดาษทรานเฟอร์ออกจากผิวหนัง ให้ลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการฉีกขาดและ ป้องกันภาพหรือลวดลายไม่แนบสนิทบนผิวหนังของคุณ
2. บางครั้งผู้ปกครองของคุณอาจไม่ชอบใจนักกับรอยสักปลอมนี้ ระวังอย่าให้มันติดบนผิวหนังของคุณนานเกินไป เอาไว้ทำในโอกาสที่เหมาะสม หรืออยากสนุกเเค่ในบางเวลา
3. หากคุณไม่ต้องการออกแบบรอยสักของคุณเองบนกระดาษทรานเฟอร์ คุณสามารถซื้อชุดรอยสักหมึกเจลสำเร็จรูปได้ แต่โดยทั่วไป การออกแบบเองจะถูกใจเด็กวัยรุ่นมากกว่า เพราะมีเอกลักษณ์และไม่เหมือนใคร
4. หลังจากลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกแล้วและรอจนแห้ง หากนำเจลสำหรับทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนังมาเคลือบรอยสักบน ผิวหนัง จะช่วยให้รอยสักติดแน่นทนนานยิ่งขึ้น
5. ในการออกแบบลวดลายบนกระดาษทรานเฟอร์ ให้คำนึงเสมอในเรื่องของการสลับด้านของรูปภาพ เพราะเมื่อมันถูกลอกลายประทับไว้บนร่างกายแล้ว ภาพที่ได้จะกลับด้านกันกับตอนที่มันถูกวาดไว้บนกระดาษ ซึ่งตอนออกแบบ คุณอาจจะนำ ภาพที่ออกแบบเสร็จเเล้วมาส่องหน้ากระจก เพราะพิจารณาภาพที่กลับด้าน เป็นต้น
6. หากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้มีรอยสัก ให้พยายามเลือกที่แปะบนร่างกายคุณในส่วนที่มองเห็นได้ยาก
7. หากลวดลายที่คุณวาดเป็นข้อความ หรือตัวหนังสือ คุณควรร่างมันด้วยดินสอเสียการที่ด้านหลังของกระดาษทรานเฟอร์ แล้วจึงกลับด้านมันและลงด้วยปากกาหมึกเจลสีเข้ม
8. ใช้แอลกอฮอล์ลบในส่วนที่เกิดความผิดพลาดในการออกแบบบนกระดาษทรานเฟอร์
9. คุณสามารถใช้สเปรย์ฉีดผมฉีดลงบนรอยสักเพื่อป้องกันการเจือจางจากการการถูกน้ำได้ เช่น เวลาอาบน้ำ แต่ห้ามใช้ยาทาเล็บ เพราะจากการศึกษาล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่ายาทาเล็บอาจจะปล่อยสารเคมีที่เป็นมะเร็งเข้าสู่ผิวได้ถ้านำมาใช้โดยตรง กับผิวหนัง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้เทปในการรักษาความปลอดภัยในระหว่างการอาบน้ำ (ยกเว้นเทปกาว)
10. หมึกเจลล้างบนร่างกายสามารถล้างออกได้ง่ายด้วยน้ำและสบู่ 
11. หากน้ำหมึกโดนเสื้อผ้า ให้รีบเช็ดหรือล้างออกทันที
12. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำที่คุณใช้ไม่ร้อนจนเกินไป หมึกเจลส่วนใหญ่จะปลอดสารพิษที่มีเม็ดสีที่เกิดในน้ำมากกว่าตัวทำละลายที่พบในหมึกปากกาอื่น ๆ

*** ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.wikihow.com/Create-Your-Own-Temporary-Tattoo ที่ทำให้เราได้รับรู้ประโยชน์อีกอย่างของกระดาษทรานเฟอร์ และรูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://shop-ululu.com/index.php/shop/sticker- tattoo-watch-late/sticker-tattoo-watch-graphic-01-1/ ที่แบ่งปันรูปสติ๊กเกอร์รอยสักลายนาฬิกาข้อมือ น่ารักมาก ๆ ค่ะ 🙂

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
27/01/2014

DIY Sticker Tattoo – วิธีการทำสติ๊กเกอร์รอยสักด้วยกระดาษทรานเฟอร์

จากบทความ กระดาษทรานเฟอร์ กับ รอยสัก ที่ทำให้ผู้อ่านรู้จักคุณประโยชนน์ดี ๆ ที่น่าทึ่งอีกอย่างถึงของเจ้ากระดาษทรานเฟอร์(หรือภาษาแบบทั่วไปเรียกกันว่า “กระดาษสกรีนเสื้อ“) กันไปบางส่วนแล้วนะคะ สำหรับบทความนี้ Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอวิธีการทำสติ๊กเกอร์ Tattoo จากกระดาษทรานเฟอร์ และที่สำคัญ คือสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง!!! เพราะสามารถใช้ปากกาหมึกเจลแทนหมึกซับลิเมชั่น โดยทำตามขั้นตอนวิธีการต่อไปนี้ (ขอขอบคุณบทความดี ๆ ต้นฉบับที่นำมาแปล จากเว็บไซต์ http://www.wikihow.com/Create-Your-Own-Temporary-Tattoo ด้วยค่า)

1. เริ่มแรกเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– กระดาษทรานเฟอร์
– ดินสอ และปากกาเจล หรือปากกาหมึกซึม (แนะนำให้ใช้ยี่ Fiskars สีดำหรือสีเข้ม ๆ จะดีที่สุด)
– ผ้านุ่ม ๆ 1 ผืน

2. ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นในการออกแบบรอยสักลองจินตนาการถึงการออกแบบที่คุณต้องการ เพราะรอยสักจะติดอยู่บนผิวของคุณ และเพื่อให้แน่ใจว่าการออกแบบของคุณเป็นลวดลายที่คุณต้องการจริงๆ หรือลองค้นหาคำว่า “การออกแบบรอยสัก” ในเครื่องมือค้นหาที่คุณชื่นชอบ เช่น Google.com เพื่อสร้างแนวความคิดและไอเดียในการออกแบบภาพหรือลวดลายต่าง ๆ

3. ใช้ดินสอร่างแบบลวดลายที่คุณชอบจนแน่ใจ จากนั้นใช้ปากกาเจลสีดำในการลงลวดลายและเน้นหนักลายเส้น เนื่องจากปากกาแบบเจลนั้น หมึกจะไหลและซึมลงบนกระดาษทรานเฟอร์ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องพิมพ์ใด ๆ หรือหมึกซับลิเมชั่นเลยค่ะ

4. ก่อนจะทำการลอกลายรอยสักที่ออกแบบไว้บนกระดาษทรานเฟอร์ ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของร่างกายที่ต้องการนำลวดลายรอยสักที่ ออกแบบไปติด เช่น ส่วนเว้า ส่วนโค้งตามสรีระต่าง ๆ ของร่างกาย มิเช่นนั้น อาจทำให้เกิดการลอกลายที่ไม่แนบสนิทเกิดขึ้นได้

5. นำผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นเเล้วบิดให้เปียกหมาด ๆ

6. วางกระดาษทรานเฟอร์ที่ออกแบบลวดลายไว้เเล้วในลักษณะคว่ำลงบนร่างกาย โดยให้ลวดลายนั้นอยู่ในจุดที่แน่นอนที่คุณต้องการให้ เกิดรอยสัก จากนั้นนำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ กดลงบนกระดาษทรานเฟอร์ประมาณ 30 วินาที

7. หลังจากนั้นค่อย ๆ ลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกจากร่างกาย โดยเริ่มทำการลอกจากมุมใดมุมหนึ่งก่อน เเละสังเกตว่ารอยสักที่ออกแบบไว้ จะติดลงบนร่างกายของคุณเเล้ว หากพบว่ารอยสักนั้นยังไม่่ติดลงบนร่างกาย ให้คุณน้ำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ กด ลงบนกระดาษทรานเฟอร์อีกครั้ง

8. เมื่อลอกกระดาษทรานเฟอร์ออกหมดแล้ว ให้รอสักพักเพื่อให้ร่างกายส่วนที่มีรอยสักนั้นแห้งเสียก่อน โดยห้ามใช้ผ้าหรือแปรงมาเช็ด

9. รอยสักใหม่ที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ได้ติดอยู่กับร่างกายคุณนานมากนัก แต่มันจะดูดีนานพอที่จะไปงานปาร์ตี้ หรือเข้าชุดกับเครื่องแต่งกายของคุณสำหรับโอกาสพิเศษต่าง ๆ

ลองทำตามกันดูได้นะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ รอยสักเก๋ ๆ เพื่องานพิเศษโอกาสต่าง ๆ แต่อย่าทำบ่อยเกินไปนะค่ะ เพราะว่าเจลหมึกของปากกาไม่ส่งผลดีต่อผิวหนังของคนเราค่ะ และสำหรับตอนต่อไปของบทความ ยังคงอยู่กับการทำสติ กเกอร์รอยสักด้วยกระดาษทรานเฟอร์เช่นเคย แต่จะเป็นนำเสนอหัวข้อที่เป็นเคล็ดลับและข้อควรระวังที่จะต้องทราบกันค่ะ พลาดไม่ได้ เลยทีเดียว อย่าลืมติดตามนะค่ะ

ถ้ายังไงคุณผู้อ่านสนใจสั่งซื้อกระดาษทรานเฟอร์หรือกระดาษสกรีนเสื้อ สามารถติดต่อได้ทันทีที่เบอร์โทร 08-7799-6229 ยินดีให้คำปรึกษาเเละบริการค่า

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
18/01/2014

Do It by Yourself ด้วย กระดาษทรานเฟอร์

Bestsublimationthai.com ขอนำเสนอสาระดี ๆ เกี่ยวกับกระดาษทรานเฟอร์อีกเช่นเคยค่ะ สำหรับบทความนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่การทำลายสกรีนเสื้อยืด ด้วยตัวคุณเอง เพียงแค่มีพระเอกของเรา นั้นคือเจ้ากระดาษทรานเฟอร์นั้นเอง และเตรียมลวดลายที่สวยงามตามความต้องการของคุณเพียงเท่านั้น คุณก็จะมีเสื้อยืดหรือชุดใด ๆ ที่มีลวดลายเป็นของคุณเอง เท่ไม่เหมือนใครเลยละค่ะ วันนี้เรา จึงนำวีดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ที่เจ้าของวีดีโอเค้าทำไว้ดีเเละเข้าใจง่ายมาก ๆ เป็น Step by Step สำหรับการนำกระดาษทรานเฟอร์มาใช้ในงานสกรีน ค่ะ

สำหรับวีดีโอแรกนี้ค่ะ จะเป็นการนำเอาลายที่ออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยเครื่องปริ้นเตอร์แบบอิงค์เจ็ท มาสกรีนบนพื้นผิวผ้า สวยและง่ายมาก ๆ เลยล่ะคะ ซึ่งผู้อ่านก็สามารถทำตามได้ เพียงเเค่เตรียม

1) เตารีด

2) กระดาษทรานเฟอร์ 

3) ลวดลายของคุณที่สร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์

4) เครื่องปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ท

5) กระดาษไข และ

6) กางเกงหรือเสื้อยืด

จากนั้น ในตอนสุดท้ายจะได้ออกมาเป็นกางเกงยีนส์ขาสั้นลายธงชาติ และเสื้อยืดลายไดโนเสาร์น่ารัก ๆ เเจ๋วมาก ๆ เราลองมาดูกันเลยค่าาา

Diy American Flag Shorts (Inkjet Transfer Paper)

How To Use T Shirt Transfer Paper Step By Step

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
15/01/2014

การสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม

การใช้กระดาษทรานเฟอร์สกรีนภาพลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงผ้า หรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถสกรีนได้นั้น ความสำคัญของวิธีการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์นี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดาษ และสามารถใช้กับปริ้นเตอร์หมึกปกติ (Dye Ink) ทั่วไปที่ใช้พิมพ์กระดาษปกติ หรือหากใช้กับปริ้นเตอร์หมึกกันน้ำ (Durabrite Ink & Pigment Ink) ก็จะช่วย ให้หมึกติดบนกระดาษทรานเฟอร์นานยิ่งขึ้น เพราะหมึกดังกล่าวมีคุณสมบัติทนน้ำและแดด แต่อย่างไรก็ตามการใช้กระดาษทรานเฟอร์มีข้อจำกัดในเรื่องของความคมชัดของภาพหลังจากถูกสกรีนลงบนพื้นผิวเหล่านั้นเเล้ว ทั้งนี้อันเนื่องมาจากคุณสมบัติของหมึกที่ใช้ใน การพิมพ์นั้นมีความโปร่งแสง และเพื่อให้ภาพหรือสีที่พิมพ์ออกมามีความคมชัด จึงจำเป็นต้องพิมพ์ลงบนวัสดุที่มีสีขาว ซึ่งในทางกลับกันหากพิมพ์ภาพลงบนพื้นผิวที่มีสีเข้ม ตัวอย่างเช่น พิมพ์สีน้ำเงินเข้มลงบนผ้าสีเหลืองอ่อน สีน้ำเงินจะยังคงให้ สีที่ถูกต้องและคมชัดมากกว่าการพิมพ์หมึกสีน้ำเงินเข้มลงบนผ้าสีน้ำตาลหรือสีดำ เป็นต้น ดังนั้นการสกรีนภาพด้วยกระดาษทราน เฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกับการการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีอ่อน คือ กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีอ่อนจะมีพื้นหลังเป็นสีใส แต่กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มจะมีพื้นหลังเป็นสีขาว ซึ่งจะ ช่วยให้เวลาติดลงบนผ้าสีเข้มแล้ว จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของภาพได้

กระดาษทรานเฟอร์

สำหรับวิธีการการสกรีนภาพด้วยกระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้มนั้น จะแตกต่างกับสีอ่อนเพียงเล็กน้อย นั้นคือ ลักษณะการใช้งานกระดาษทรานเฟอร์สีเข้มจะพิมพ์ภาพลงด้านเดียวกับต้นฉบับ ต่างกับกระดาษทรานเฟอร์สีอ่อน ที่ต้องพิมพ์แบบภาพในลักษณะกลับด้านในลักษณะสะท้อนกระจกเงา และหลังจากพิมพ์ภาพหรือลวดลายจากเครื่องพิมพ์ลงบน กระดาษแล้ว ก่อนนำไปเข้าเครื่องกดความร้อนจะต้องทำการลอกชั้นฟิลม์แผ่นบนที่ถูกพิมพ์เป็นลวดลายออกจากกระดาษรองแผ่นล่างเสียก่อน โดยชั้นฟิลม์แผ่นบนจะมีลักษณะคล้ายแผ่นยางบาง ๆ และขณะที่ลอกต้องระวังไม่ให้แผ่นยางขาดออก จากกัน จากนั้นเมื่อลอกออกแล้วให้นำไปเข้าเครื่องกดความร้อน โดยให้ลวดลายหงายขึ้นด้านบน และควรวางซ้อนแผ่นซิลิโคนทับอีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นฟิลมพ์ถูกหน้าสัมผัสของเครื่องกดความร้อนโดยตรง ซึ่งผลการสกรีนที่ได้ออกมาจะ ลักษณะเป็นผิวยางที่ค่อนข้างหนาและมีน้ำหนักกว่างานฮีตทรานเฟอร์บนผ้าสีอ่อน

ขอขอบคุณบทความบางส่วนจากเว็บไซต์

http://กระดาษทรานเฟอร์.com/article/กระดาษทรานเฟอร์สำหรับผ้าสีเข้ม, http://www.ink-spa.com/ink-spa/index.php?option=com_content&view=article&id=154&Itemid=131

และรูปสวย ๆ จาก http://blog.umamidesign.com/category/playing/page/2/

มา ณ ที่นี้ด้วยค่า

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
26/12/2013

การสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน สำหรับงานซับลิเมชั่นและกระดาษทรานเฟอร์

วันนี้ BestSublimationThai.com ขอนำเสนอบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน ซึ่งเป็นการนำกระดาษทรานเฟอร์มา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับผู้อ่านที่สนใจอยากทำธุรกิจเสื้อยืด รับจ้างสกรีน หรืออยากทำเสื้อยืดสกรีนลายที่ออกแบบเองไว้ใส่คนเดียวก็สามารถทำได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ http://board.postjung.com/635210.html ขอขอบคุณสำหรับสาระดี ๆ 🙂
1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อไปนี้

  • บล็อกสกรีนเสื้อเปล่า
  • ต้นแบบลาย อาจมาจากการออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือภาพวาดต่าง ๆ
  • สติ๊กเกอร์
  • Art Knife
  • ลูกกลิ้งยาง
  • กระดาษกาว
  • เทปหนังไก่
  • แผ่นรองตัด

2. เอาต้นแบบลายมาตัดเป็นสติ๊กเกอร์ จากนั้นเอาไปติดกับสติ๊กเกอร์ แล้วจึงตัดตามแบบ

3. เมื่อตัดเสร็จแล้วก็จะได้ สติ๊กเกอร์ออกมา 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นลวดลาย (ส่วนที่ตัด) และส่วนที่เป็นกรอบ (ส่วนที่เหลือ)

4. นำส่วนที่เป็นกรอบมาติดลงบนบล็อกสกรีน

5. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อไปนี้

  • ที่ปาดสี ใช้กระดาษลังตัดแล้วกระกบซ้อนกัน 2 ชั้น (ยางปาดสีที่เค้าใช้ในงานสกรีนจริงๆ ไซส์ เท่ากับกระดาษลังตัวนี้ ราคาประมาณอยู่ที่ 500+)
  • สีสกรีน
  • น้ำยาผสมสี
  • ถ้วยผสมสีสกรีน

2. ขั้นตอนการสกรีน

  1. เตรียมที่ปาด (สีแดงในรูป) และบล็อกลายสกรีนที่เตรียมไว้แล้วให้พร้อม
  2. ผสมสีในชามผสมแล้วเตรียมการเกลี่ยสี (โดยใช้ที่ปาด)
  3. เกลี่ย สีลงในบล็อกให้สม่ำเสมอโดยสังเกตุจากการที่สีลงไปอยู่บนเนื้อผ้าสกรีนเต็ม ทุกส่วน (ขั้นตอนนี้เราจะยังไม่ยุ่งเกี่ยวกับเสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน)
  4. เมื่อ เราเกลี่ยสีได้สม่ำเสมอแล้ว ให้นำบล็อกลงไปวางทาบที่เสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน (ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสามารถวางได้ครั้งเดียว เนื่องจากสีที่เราปาดรอบแรกเพื่อเกลี่ยสีนั้น ส่วนหนึ่งได้ซึมผ่านบล็อกไปแล้ว)

3. ทำการปาดสี โดยปาดเข้าหาตัวและปาดไปในทิศทางเดียวกันซ้ำอีก 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องเพิ่มสีอีก
4. เอาไดร์เป่าผมเป่าลมร้อนที่ลายสกรีนประมาณ 5 นาที แล้วนำเสื้อไปผึ่งลมทิ้งไว้ จนกว่าสีจะแห้ง เป็นอันเสร็จ

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
23/12/2013

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers)

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers) หรือเรียกว่าการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ (Heat Transfer) คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วในกระดาษทรานเฟอร์นั้น จะมีสารเคมีและแว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนภาพในการพิมพ์ลงไปบนพื้นผิวเสื้อโดยการใช้ความร้อน ซึ่งมักจะพบในการสกรีนเสื้อยืด การสกรีนหมายเลขผู้เล่นของชุดกีฬา เป็นต้น ซึ่งกระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดลอก หรือรูปมีการแตกออกจากกัน ซึ่งแตกต่างกับการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น การพิมพ์แบบซับลิเมชั่นจะใช้ความร้อน ในความดัน อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เพื่อให้หมึกระเหิดไปติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ แต่ในแง่เชิงพาณิชย์ กระบวนการถ่ายโอนความร้อนยังเป็นวิธีที่นิยมในธุรกิจขนาดเล็ก เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า และมีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย อีกทั้งยังสามารถสร้างลวดลายได้ตามใจชอบ และสามารถทำได้บนผ้าฝ้ายแบบ 100% อีกด้วย
ปัจจุบันมีเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เป็นจำนวนหลายแบรนด์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถสนับสนุนงานในกระบวนการถ่ายโอนความร้อนได้ เช่น แอปเปิ้ล, HP, ซีร็อกซ์, แคนนอน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Iron-on

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
20/12/2013

กระดาษทรานเฟอร์คืออะไร?

กระดาษทรานเฟอร์

กระดาษทรานเฟอร์คืออะไร? กระดาษทรานเฟอร์ คือกระดาษประเภทหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และงานฝีมือต่าง ๆ ด้านการพิมพ์ภาพลงบนวัตถุใด ๆ เช่น การสกรีนเสื้อ การลอกลายลงบนพื้นผิววัสดุต่าง ๆ หรือที่เราพบเห็นทั่วไปตามท้องตลาดคือ การสกรีนลายเคสโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ความร้อนเป็นสื่อกลางในกระบวนการทำงานการถ่ายโอนภาพลงบนผืนกระดาษ ผืนผ้าใบ หรือพื้นผิวใด ๆ ที่สามารถพิมพ์ได้ ซึ่งกระดาษทรานเฟอร์สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์งานพิมพ์เหล่านี้ได้ หรือเรียกงานพิมพ์ประเภทนี้ว่า iron-ons (iron-ons คืออะไร คลิก) และในปัจจุบันกระดาษทรานเฟอร์สำหรับใช้ในการสกรีนเสื้อมีอยู่หลายประเภท โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. กระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท
กระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ซึ่งจะไม่สามารถพิมพ์สีขาวได้ ดังนั้นสำหรับพื้นผิวที่มีสีขาว หากมีการถ่ายโอนความร้อนลงสู่พื้นผิวนั้นแล้วนั้น ภาพที่แสดงให้เห็นจะคล้ายกับการมองภาพผ่านกระจกเงา แต่สำหรับพื้นผิวที่มีสีเข้มจะทำงานตรงข้ามกัน

กระดาษทรานเฟอร์

2. กระดาษทรานเฟอร์ซับลิเมชั่น
สำหรับกระดาษทรานเฟอร์ซับลิเมชั่น ถูกนำมาใช้ในการย้อมผ้า จำพวกผ้าโพลีเอสเตอร์ โพลีคอตตอน ไมโครไฟเบอร์ ไนลอน เป็นต้น โดยกระบวนการพิมพ์นี้ สีหมึกจะแปลเปลี่ยนเป็นก๊าซ แต่จะไม่ผ่านขั้นตอนที่เป็นของเหลวไป ซึ่งกระบวนการนี้หมึกจะมีความคงทนและยึดเกราะสูง จึงสามารถนำมาใช้ในงานฝีมือ อาทิเช่น งานเซรามิก งานไม้ แก้ว หรือโลหะ เป็นต้น

3. กระดาษทรานเฟอร์เลเซอร์
กระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ กระบวนการทำงานจะคล้ายคลึงกับกระบวนการพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท แต่เลเซอร์จะมีความคมชัด และรวดเร็วกว่า เพราะหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คือการให้ความร้อน ในการหลอมละลายผงหมึก เพื่อฉาบลงไปบนกระดาษ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะยึดเกาะบนเนื้อผ้าได้ด้วยตัวมันเอง การยึดเกาะยังต้องอาศัยฟิลม์ (โพลิเมอร์) เป็นตัวช่วยเช่นเดียวกับกระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท ดังนั้นกระดาษทรานเฟอร์แบบเลเซอร์จึงคงต้องมีชั้นฟิลมม์โพลิเมอร์เคลือบอยู่เช่นเดียวกัน

อ่านรายละเอียดของการพิมพ์กระดาษทรานเฟอร์ในแบบต่าง ๆ เพิ่มเติม คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Transfer_paper และ www.กระดาษทรานเฟอร์.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น